Page 109 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 109

๙๔


                                           ประเด็นที่สอง การที่เจ้าหน้าที่เรือนจ่าตรวจดูหรือเปิดอ่านจดหมาย

                   ของผู้ต้องขังเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องขัง อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                   ของผู้ต้องขังหรือไม่

                                           ประเด็นที่สาม การด่าเนินการดังกล่าวเป็นการด่าเนินการตามอ่านาจ

                   หน้าที่ตามกฎหมายโดยองค์กรของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นสิ่งจ่าเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
                   และได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์นั้นหรือไม่

                                         (๓) แนวทางการพิจารณา
                                           ประเด็นที่หนึ่ง การตรวจดูหรือเปิดอ่านจดหมายของผู้ต้องขังในเรือนจ่า

                   มีลักษณะเป็นสิทธิของบุคคลอันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวหรือไม่
                                             จดหมายหรือการติดต่อสื่อสารในรูปแบบอื่นใดย่อมเป็นสิทธิเสรีภาพ

                   ส่วนบุคคล จดหมายจึงเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานแห่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บุคคลย่อมมีสิทธิ

                   ที่จะเปิดอ่านด้วยตนเอง  และห้ามมิให้บุคคลอื่นใดตรวจดูหรือเปิดอ่าน ไม่เว้นแม้แต่ผู้ต้องขังในเรือนจ่า
                   สิทธิในการตรวจดูหรือเปิดอ่านจดหมายของผู้ต้องขังในเรือนจ่าย่อมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานแห่งศักดิ์ศรี

                   ความเป็นมนุษย์ อันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับสิทธิในจดหมายและการติดต่อสื่อสาร

                   โดยนัยดังกล่าว ผู้ต้องขังย่อมต้องได้รับความคุ้มครองตามข้อ ๑๒ แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วย
                   สิทธิมนุษยชน และข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                   และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตลอดจนตามมาตรฐานขั้นต่่าของสหประชาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง

                   อีกด้วย
                                             โดยนัยดังกล่าว สิทธิในการตรวจดูหรือเปิดอ่านจดหมายย่อมเป็นสิทธิใน

                   ความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา ๔ และมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญ
                   แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในอันที่บุคคลใดจะล่วงละเมิดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมิได้

                   โดยนัยดังกล่าว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมตกอยู่ในความหมายของค่าว่า “สิทธิมนุษยชน” ตามนัย

                   ที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
                                           ประเด็นที่สอง การที่เจ้าหน้าที่เรือนจ่าตรวจดูหรือเปิดอ่านจดหมายของ

                   ผู้ต้องขังเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องขัง อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ
                   ผู้ต้องขังหรือไม่

                                             เมื่อจดหมายหรือการติดต่อสื่อสารเป็นข้อมูลที่เกี่ยวด้วยสิทธิในความ

                   เป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องขังซึ่งจะต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จึง
                   ก่อให้เกิดหน้าที่หรือความผูกพันต่อบุคคลอื่นที่จะต้องเคารพต่อสิทธิดังกล่าวโดยไม่กระท่าการเปิดเผย

                   ข้อมูลดังกล่าวโดยมิได้รับความยินยอมของผู้ป่วยนั้นโดยชัดแจ้งแต่อย่างใด โดยนัยดังกล่าว การตรวจดู

                   หรือเปิดอ่านจดหมายของเจ้าหน้าที่เรือนจ่าตามกรณีศึกษาจึงเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่
                   ส่วนตัว อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขัง
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114