Page 106 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 106

๙๑


                                             (๑)  การใช้ชื่อหรือรูปถ่ายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ทางการค้าของตน

                   (Appropriation) ได้แก่
                                               - การแต่งตัวหรือท่าบุคลิกให้เหมือนบุคคลนั้น (Look-alikes)

                                               - การเลียนแบบเสียงให้เหมือนบุคคลนั้น (Sound-alikes) ยกเว้นเป็น

                   กรณีที่เพื่อให้ข้อมูลและเสนอข่าว
                                             (๒)  การรุกล้่าทางร่างกายของบุคคลอื่นในการที่ผู้นั้นประสงค์จะอยู่

                   ตามล่าพัง  (Intrusion)  เช่น  การดักฟังพูดโทรศัพท์  การใช้กล้องเลนส์ซูมระยะไกลเพื่อถ่ายภาพ
                   การแอบซ่อน ไมโครโฟนเพื่ออัดเทปการสนทนา ฯลฯ

                                             ข้อสังเกต ในที่สาธารณะไม่ถือว่ามีสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว (No Privacy in
                   Public) ดังนั้น การถูกถ่ายภาพในงานคอนเสิร์ตจึงไม่ใช่การรุกล้่าความเป็นอยู่ส่วนตัวเพราะเป็นสถานที่

                   ที่คนทั่วไปสามารถพบเห็นได้อย่างเสรี

                                             (๓) การตีพิมพ์เรื่องราวส่วนตัวของบุคคลอื่นในลักษณะเกินเลยความพอดี
                   หรือเป็นการล่วงละเมิดต่อการด่าเนินชีวิตปกติของบุคคลนั้น (Publication of Private Information) หมายถึง

                                               - เป็นการตีพิมพ์ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

                                               - การเปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะล่วงละเมิดในมุมมองของบุคคลทั่วไป
                                               -  ข้อมูลดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนตาม

                   กฎหมาย

                                             (๔) การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นเท็จต่อสาธารณะ (False Light)
                   หมายถึง การเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนโดยท่าให้ผู้อื่นได้รับความเสื่อมเสีย โดยมีองค์ประกอบดังนี้

                                               - เป็นการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นเท็จ
                                               - ข้อความอันเป็นเท็จนั้นก่อให้เกิดความเสียหายในมุมมอง ของบุคคล

                   ทั่วไป

                                               - ผู้เผยแพร่มีเจตนาทุจริตในขณะกล่าวหาบุคคลอื่น
                                         (๔) สรุป

                                                การที่สื่อมวลชนถ่ายภาพผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศแล้วน่าไป
                   ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือการที่บุคคลติดตามถ่ายภาพบุคคลอื่นในลักษณะคุกคามโดยบุคคล

                   ผู้ถูกถ่ายภาพนั้นไม่ได้ให้ความยินยอม  เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกถ่ายภาพ

                   นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระท่าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลนั้น
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111