Page 105 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 105
๙๐
กฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ก่าหนด
หลักการคุ้มครอง “สิทธิอื่นๆ (Other right)” ไว้ในมาตรา ๘๒๓ (๑) เกี่ยวกับในการรับรองสิทธิและ
ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิในการพัฒนาบุคลิกภาพหรือความมีตัวตนของบุคคล
ในรูปภาพและสิทธิในการใช้นามของบุคคล รวมถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) และข้อมูล
เกี่ยวกับบุคคลทั่วไปบนพื้นฐานของมาตรา ๘๒๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง โดยก่าหนดว่า บุคคลใด
จงใจท่าให้คนอื่นได้รับความเสียหายในการละเมิดศีลธรรมอันดีต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการกระท่า
ดังกล่าว นอกจากนั้น หากเป็นการกระท่าที่มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์จากสิทธิเกี่ยวกับ
บุคคล (appropriation of personality) เช่น การน่าภาพของบุคคลไปใช้ประกอบการโฆษณา
(แม้โฆษณานั้นจะไม่เสื่อมเสีย แต่เป็นโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลอยู่ที่อยู่ภาพก็ถือเป็นการละเมิด
สิทธิเกี่ยวกับบุคคลเช่นกัน
กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา
การใช้ชื่อหรือภาพของบุคคลเพื่อผลประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอม
(appropriation) ถือเป็นกระท่าที่เป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวตามของประเทศสหรัฐอเมริกา
เช่น คดีระหว่าง Rochester และ Roberson ศาลมลรัฐนิวยอร์ก ได้ตัดสินให้จ่าเลยชดใช้ค่าเสียหาย
ให้กับโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์นั้นถูกละเมิดด้วยการถูกน่าภาพไปใช้เพื่อประโยชน์ในการโฆษณาสินค้าของ
จ่าเลย หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดในทางที่เป็นการส่งเสริมการขายของจ่าเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของภาพดังกล่าว หรือกรณีที่ผู้หญิงถูกบันทึกภาพขณะที่กระโปรงของเธอถูกลมพัดเปิดขึ้น
กรณีนี้โจทก์มีสิทธิร้องทุกข์ต่อศาลได้ (คดี Daily Times Democrat v. Grahan 1964) หรือกรณีการน่า
รูปภาพของคนขับรถแท็กซี่ทั่วไปไปใช้ในการประกอบเรื่องเกี่ยวกับคนขับรถแท็กซี่ที่ขี้โกงในเมือง
หรือการรวมเอาชื่อของโจทก์รูปภาพและลายมือของโจทก์เอาไว้ในห้องภาพคนร้ายในพิพิธภัณฑ์
ที่ถูกตัดสินว่ากระท่าความผิดอาญา ทั้งที่ไม่มีข้อเท็จจริงว่าโจทก์เคยถูกตัดสินว่ากระท่าความผิดอาญา
๙๒
เป็นต้น ซึ่งการกระท่าละเมิดในฐานนี้ไม่จ่าเป็นต้องผิดในฐานหมิ่นประมาทควบคู่เสมอไป
ส่าหรับแนวทางในการพิจารณาว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
๙๓
หรือไม่นั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ก่าหนดไว้ใน Restatement of Torts §§ 652 A - I ซึ่งมี
หลักเกณฑ์ในการ พิจารณา ดังนี้
๙๒ ศศิภา เรืองฤทธิ์ชาญกุล, มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเผยแพร่ข่าวผู้เสียหายในความผิด
เกี่ยวกับเพศ, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๓
๙๓
บุญสิทธิ์ บุญโพธิ์., สื่อมวลชนกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล,วารสารนักบริหาร ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑
(ม.ค.- มี.ค. ๒๕๕๓) หน้า ๘๖-๘๘