Page 104 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 104

๘๙


                                           ประเด็นที่สอง การที่สื่อมวลชนถ่ายภาพผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิด

                   ทางเพศแล้วน่าไปตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือการที่บุคคลติดตามถ่ายภาพบุคคลอื่นในลักษณะคุกคาม
                   โดยบุคคลผู้ถูกถ่ายภาพนั้นไม่ได้ให้ความยินยอม เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว

                   ของผู้ถูกถ่ายภาพนั้น อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลนั้นหรือไม่

                                             เมื่อการถ่ายภาพบุคคลเป็นสิทธิของบุคคลอันเกี่ยวด้วยสิทธิ
                   ในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลเกี่ยวกับเนื้อตัวร่างกาย ในลักษณะที่เกี่ยวด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

                   ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น สิทธิของบุคคลดังกล่าวย่อมจะต้องได้รับการเคารพจากบุคคลอื่นใด
                   ในอันที่จะต้องไม่ถ่ายหรือบันทึกภาพของบุคคลอื่นโดยที่บุคคลนั้นมิได้ให้ความยินยอมโดยชัดแจ้ง

                   หรือในลักษณะเป็นการคุกคามสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลนั้น โดยนัยดังกล่าว
                   การที่สื่อมวลชนถ่ายภาพผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศแล้วน่าไปตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือการที่

                   บุคคลติดตามถ่ายภาพบุคคลอื่นในลักษณะคุกคามโดยบุคคลผู้ถูกถ่ายภาพนั้นไม่ได้ให้ความยินยอม

                   เป็นการแทรกแซงสิทธิ ในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกถ่ายภาพนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
                   และเป็นการกระท่าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลนั้น

                                             แม้ว่ามาตรา ๔๕ วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                   พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ก่าหนดบทบัญญัติคุ้มครองการท่าหน้าที่ของสื่อมวลชนไว้ว่า “การห้าม
                   หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน

                   หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระท ามิได้  เว้นแต่โดยอาศัย

                   อ านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง”  และมาตรา ๔๕ วรรคสอง บัญญัติว่า
                   “การจ ากัดสิทธิเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระท ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ านาจตามบทบัญญัติแห่ง

                   กฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิใน
                   ครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ

                   ประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน” อย่างไรก็

                   ตาม เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้อย่างขัดแจ้งว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
                   ของบุคคลและสื่อมวลชนเป็นเสรีภาพที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว

                   ของบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิอันเกี่ยวด้วยศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะต้องได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๔

                   ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขอื่นแต่อย่างใด
                                             ส่าหรับหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับกรณีการถ่ายภาพ

                   ของผู้อื่นโดยผู้ที่ถูกถ่ายภาพนั้นไม่ได้ให้ความยินยอมและน่าไปพิมพ์เผยแพร่นั้น คณะผู้วิจัยขอยก
                   กฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกามา

                   ประกอบการพิจารณา ดังนี้
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109