Page 103 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 103
๘๘
๔.๒.๗ กรณีการถ่ายภาพของผู้อื่นโดยผู้ที่ถูกถ่ายภาพนั้นไม่ได้ให้ความยินยอมและ
น าไปพิมพ์เผยแพร่
(๑) ข้อเท็จจริง
กรณีสื่อมวลชนถ่ายภาพผู้ที่ได้รับความเสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศ
หรือใช้กล้องที่มีเลนส์ซูมภาพบุคคลอื่นให้เห็นใบหน้าของบุคคลนั้นในระยะใกล้ชิด แล้วน่าไปตีพิมพ์
เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือกรณีบุคคลคอยติดตามถ่ายภาพบุคคลอื่นในลักษณะคุกคาม (ปาปาราซี)
โดยบุคคลผู้ถูกถ่ายภาพนั้นไม่ได้ให้ความยินยอม ซึ่งการกระท่าดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทางเพศ หรือก่อให้เกิดความเดือนร้อนร่าคาญแก่ผู้ถูกถ่ายภาพ
และอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ชีวิตร่างกายของผู้ถูกถ่ายภาพนั้นอีกด้วย
(๒) ประเด็นปัญหาทางกฎหมาย
ประเด็นที่หนึ่ง การถ่ายภาพของบุคคลมีลักษณะเป็นสิทธิของบุคคล
อันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวหรือไม่
ประเด็นที่สอง การที่สื่อมวลชนถ่ายภาพผู้เสียหายในคดีล่วงละเมิดทาง
เพศแล้วน่าไปตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ หรือการที่บุคคลติดตามถ่ายภาพบุคคลอื่นในลักษณะคุกคามโดย
บุคคลผู้ถูกถ่ายภาพนั้นไม่ได้ให้ความยินยอม เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของ
ผู้ถูกถ่ายภาพนั้น อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลนั้นหรือไม่
(๓) แนวทางการพิจารณา
ประเด็นที่หนึ่ง การถ่ายภาพของบุคคลมีลักษณะเป็นสิทธิของบุคคล
อันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวหรือไม่
ภาพถ่ายของบุคคลย่อมเป็นข้อมูลอันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่
ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลหรือสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของบุคคล ในเกี่ยวด้วยศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์เช่นกัน จึงต้องได้รับการคุ้มครองตามนัยแห่งสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวตามข้อ ๑๒
แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วย
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การถ่ายภาพบุคคลใดจะกระท่าได้จะต้องได้รับ
ความยินยอมจากบุคคลนั้นโดยชัดแจ้งเสียก่อน
โดยนัยดังกล่าว การถ่ายภาพบุคคลย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งสิทธิ
ในความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา ๔ และมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในอันที่บุคคลใดจะล่วงละเมิดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมิได้
โดยนัยดังกล่าว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมตกอยู่ในความหมายของค่าว่า “สิทธิมนุษยชน”
ตามนัยที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒