Page 101 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 101

๘๖


                   อีกทั้งเพื่อความปลอดภัยในชีวิตร่างกายของผู้โดยสาร ในกรณีที่ผู้โดยสารมองเห็นว่ามีเหตุอันตราย

                   หรืออุบัติภัยใดๆ เกิดขึ้นภายนอก หรือในทางกลับกัน ในกรณีที่มีเหตุอันตรายเกิดขึ้นภายในรถโดยสาร
                   เพื่อที่บุคคลภายนอกจะได้สังเกตเห็นและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้โดยสารได้ทันท่วงที การมองเห็น

                   ทัศนีภาพภายนอกรถโดยสารในระหว่างการเดินทางจึงเป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลอันเกี่ยวด้วย

                   สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย ในลักษณะที่เป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
                   และจะต้องได้รับการคุ้มครองตามนัยแห่งสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวตามข้อ ๑๒ แห่งปฏิญญาสากล

                   ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                   และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

                                             โดยนัยดังกล่าว สิทธิเสรีภาพของบุคคลที่จะมองเห็นทัศนียภาพภายนอก
                   ในระหว่างการเดินทางบนรถโดยสารประจ่าทาง รถไฟ หรือรถไฟฟ้า ย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งสิทธิ

                   ในความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา ๔ และมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญ

                   แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในอันที่บุคคลใดจะล่วงละเมิดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
                   มิได้ โดยนัยดังกล่าว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมตกอยู่ในความหมายของค่าว่า “สิทธิมนุษยชน”

                   ตามนัยที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                                           ประเด็นที่สอง การที่ผู้ประกอบกิจการขนส่งปิดป้ายโฆษณาบนหน้าต่าง
                   รถโดยสารประจ่าทาง บนหน้าต่างตู้รถไฟหรือตู้รถไฟฟ้า อันเป็นการบดบังทัศนียภาพภายนอก

                   เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้โดยสารหรือไม่

                                             เมื่อการมองเห็นทัศนีภาพภายนอกรถโดยสารในระหว่างการเดินทาง
                   เป็นสิทธิเสรีภาพของบุคคลอันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย

                   ในลักษณะที่เป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลดังกล่าว
                   ย่อมจะต้องได้รับการเคารพจากบุคคลอื่นใดในอันที่จะต้องไม่กระท่าการใดๆ อันเป็นการกระทบต่อสิทธิ

                   เสรีภาพดังกล่าว โดยนัยดังกล่าว การที่ผู้ประกอบกิจการขนส่งปิดป้ายโฆษณาบนหน้าต่างรถโดยสาร

                   ประจ่าทาง บนหน้าต่างตู้รถไฟหรือตู้รถไฟฟ้า อันเป็นการบดบังทัศนียภาพภายนอก ย่อมเป็นการ
                   แทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้โดยสารโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการกระท่าอันเป็น

                   การละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้โดยสาร
                                             นอกจากนี้ ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีค่าวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

                   ดังกล่าวในคดีที่ อ. ๒๓๑/๒๕๕๐ ซึ่งสรุปสาระส่าคัญได้ว่า ผู้โดยสารรถไฟขบวนด่วนพิเศษกรุงเทพฯ-

                   เชียงใหม่ เป็นประจ่า ได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองว่าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่การรถไฟ
                   แห่งประเทศไทย (ผู้ถูกฟ้องคดี) อนุญาตให้เอกชนด่าเนินการติดตั้งแผ่นป้ายโฆษณาบริเวณกระจก

                   หน้าต่างภายนอกตู้รถโดยสารของขบวนรถไฟ ท่าให้ผู้โดยสารรถไฟไม่อาจมองเห็นทิวทัศน์สองข้างทาง

                   รถไฟได้อย่างชัดเจน และยังท่าให้เกิดอาการตาพร่ามัวและคลื่นไส้ ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องทุกข์
                   ต่อผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อให้ขูดลอกแผ่นป้ายโฆษณาดังกล่าวออกจากหน้าต่างตู้รถโดยสารแล้ว

                   แต่ไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด  ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ด่าเนินการตามค่าร้องเรียน
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106