Page 83 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 83
บทที่ 2
แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติมีอ านาจหน้าที่ดังนี้
1) ก าหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2) ก าหนดแนวทางและมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงาน
ระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับประชาชนเกี่ยวกับการบริหาร
จัดการที่ดินหรือทรัพยากรดิน
3) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
จัดท า ปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายหรือกฎเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
ที่ดินหรือทรัพยากรดินเพื่อดาเนินการต่อไป
4) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีที่อ านาจหน้าที่ของ
คณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการ
บริหารจัดการที่ดินหรือทรัพยากรดินซ้ าซ้อนหรือขัดแย้งกัน
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 คณะ ประกอบด้วย
คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน คณะอนุกรรมการจัดที่ดิน และ คณะอนุกรรมการ
ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ เพื่อด าเนินการจัดพื้นที่น าร่องเพื่อจัดที่ดินท ากินให้แก่
ชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีที่ดินส าหรับเพาะปลูกและเป็นที่อยู่อาศัย
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด
(คทช.จังหวัด) เพื่อส ารวจ ตรวจสอบ จัดท าข้อมูลที่ดิน และแผนที่ขอบเขตที่ดิน
ในพื้นที่ที่จะจัดให้แก่ผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินท ากินและที่อยู่อาศัยในรูปแบบชุมชน
ที่เหมาะสม และส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชนตาม
แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(5) ค าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
สถานะทางกฎหมายของค าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงเป็นข้อถกเถียงในวงกว้าง แม้ว่าจะมี
86
87
ค าพิพากษาศาลฎีกา และค าวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ รับรองว่าค าสั่งคณะรัฐประหารนั้นมีสถานะ
เป็นกฎหมาย เพราะเมื่อท าการรัฐประหารแล้ว คณะรัฐประหารย่อมมีสถานะเป็นรัฐาธิปัตย์ แต่ในทางทฤษฎี
ยังมีนักวิชาการจ านวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการยอมรับค าสั่งคณะรัฐประหารให้เป็นกฎหมาย เนื่องจากที่มา
ของอ านาจไม่มีความชอบธรรมตามหลักนิติรัฐ และค าสั่งหลายฉบับมีเนื้อหาเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน
86 ค าพิพากษาฎีกาที่ 1662/2505 “คณะปฏิวัติได้ท าการยึดอ านาจการปกครองประเทศไทยได้เป็นผลส าเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อม
เป็นผู้ใช้อ านาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย...”
87 ค าวินิจฉัยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3-5/2550 ในประเด็นต้องวินิจฉัยข้อ 12 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ใช้บังคับกับการยุบพรรคการเมือง ตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ย้อนหลังได้ เพราะถือว่าประกาศดังกล่าวเป็นกฎหมาย
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2-65