Page 76 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 76
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546
− คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2546 เห็นชอบแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดิน
ตามนโยบายการบริหารจัดการที่ดินของประเทศ
− ก าหนดปัญหาทรัพยากรที่ดินของประเทศจากรายงานผลการวิจัยของมูลนิธิสถาบันที่ดิน
และน าไปสู่การก าหนดนโยบายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการทรัพยากรที่และที่ดิน
ของประเทศ มีสาระส าคัญดังนี้
ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติที่ท าหน้าที่ในการก าหนดนโยบายในภาพรวม
องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ควรมีภาคเอกชนและองค์กรส่วนท้องถิ่นเข้ามามี
ส่วนร่วม และมีคณะอนุกรรมการระดับท้องถิ่นพิจารณากลั่นกรองปัญหาก่อน
น าเสนอคณะกรรมการระดับชาติ
ควรปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลต่อการจัดการที่ดินหลากหลายตรงตาม
ความเหมาะสมของทรัพยากรดินและสมรรถนะของที่ดิน เช่น พื้นที่ต้นน้ า ที่ดินเพื่อ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย เขตอุตสาหกรรม
เขตพาณิชยกรรม เป็นต้น ควรมีการกันเขตที่ดินของรัฐหรือที่ดินหวงห้ามในพื้นที่
จริงให้ชัดเจน และควรปรับปรุงแนวเขตให้ถูกต้องเหมาะสม
ควรใช้การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของรัฐเป็นกลไกในการควบคุมการใช้
ประโยชน์ที่ดิน และให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร
ดินและที่ดินตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
การก าหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และ
มีมาตรการในการสนับสนุนเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่คุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ควรปรับระบบเอกสารสิทธิในที่ดินให้เป็นระบบเดียวเพื่อให้ผู้ที่ถือครองหรือผู้ท า
ประโยชน์ในที่ดินมีความมั่นคง ควรใช้กฎหมายฉบับเดียวกันในการจัดการดูแลการ
ใช้ประโยชน์ที่ดิน ทะเบียนที่ดิน และข้อมูลผู้ถือครองให้เป็นมาตรฐานเดียว
การก าหนดเงื่อนไขการได้มาซึ่งสิทธิในที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการเปลี่ยน
มือ และชุมชนมีส่วนร่วมในการก าหนดสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามรัฐธรรมนูญ
ระบบภาษีที่ดิน ควรปรับปรุงระบบและวิธีการจัดเก็บภาษีที่ดิน (ภาษีโรงเรือนและ
ที่ดิน และภาษีบ ารุงท้องที่) และบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ครบถ้วนและ
มีประสิทธิภาพ
ใช้ระบบภาษีที่ดินเป็นแรงจูงใจให้เกิดการกระจายการถือครองและการใช้ประโยชน์
ในที่ดิน
ควรพิจารณาจัดท าระบบข้อมูลที่ดินและทะเบียนที่ดินที่เชื่อถือได้ โปร่งใส มีแผนที่
เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยก าหนดให้มีองค์การมหาชนดูแล
2-58 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย