Page 73 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 73
บทที่ 2
แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และช่วยให้ราษฎรที่ไร้ที่ดินได้มีที่ดินท ากินเป็นของตนเอง
ตลอดจนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
− ก าหนดให้มีพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ จ านวนร้อยละ 15 ของเนื้อที่ของทั้งประเทศ รวมถึง
เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตต้นน้ าล าธารโดยมีนโยบายให้มีการ
ป้องกัน ควบคุมการบุกรุกท าลายต้นน้ าล าธารอย่างเข้มงวดและเร่งรัดการปลูกป่าทดแทน
ตลอดจนด าเนินการวิจัยเพื่อหาวิธีการฟื้นฟูเขตต้นน้ าล าธาร
− จัดท าแผนแม่บทในการพัฒนาเขตอุทยานแห่งชาติ ให้สามารถใช้เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติ
และสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
− ทบทวน แก้ไขกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ตลอดจนรวมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเข้ากับเขต
อุทยานแห่งชาติ เพื่อให้การจัดการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
− ก าหนดให้มีการใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเพื่อกิจกรรมที่สนับสนุนความมั่นคงของชาติ
นอกเหนือจากที่ดินที่ใช้ในการราชการทหารในปัจจุบันเพื่อจัดตั้งเป็นนิคมชายแดนหรือ
โครงการเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม
− นโยบายชาวเขา จัดเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่อยู่เป็นหลักแหล่งได้ ให้จัดให้อยู่ใน
ชุมชนเดิม และจัดให้มีกิจกรรมปลูกป่าและรักษาป่าในบริเวณดังกล่าว และ กลุ่มที่ 2 คือ
ชาวเขาที่อพยพเคลื่อนย้ายเพื่อท าไร่เลื่อนลอย ให้จัดท าโครงการจัดที่ดินให้อยู่อย่างถาวร
ในพื้นที่ราบ พร้อมทั้งให้มีการควบคุมการเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิดตลอดจนสกัดกั้นและ
การป้องกันการอพยพเข้ามาใหม่
− ปรับปรุงระบบแผนที่ในการส ารวจจ าแนกประเภทที่ดิน ให้เป็นระบบแผนที่ยูทีเอ็ม
85
(Universal Transverse Mercator: UTM) เช่นเดียวกับกรมแผนที่ทหาร กรมที่ดินและ
กรมป่าไม้ เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันทุกหน่วยงาน
− ให้รัฐสนับสนุนให้มีการปรับปรุงระบบข้อมูลที่ดิน โดยวิธีที่ทุกหน่วยงานยอมรับ ให้มี
ระบบแผนที่ที่เป็นระบบเดียวกัน โดยให้การสนับสนุนด้านการน าเทคโนโลยีและจัดหา
เครื่องมือเครื่องใช้ในการด าเนินงาน ตลอดจนฝึกอบรมบุคลากร
− สนับสนุนให้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดท าระบบข้อมูลที่ดินในลักษณะโครงข่าย
− ให้แต่ละหน่วยงานย่อยจัดท าระบบข้อมูลที่ดินของตนเองและพัฒนาให้สามารถเชื่อมโยง
กันได้
− ก าหนดให้มีหน่วยงานกลาง ท าหน้าที่ประสานการบริหารที่ดินเพื่อจัดท าดรรชนีของ
ข้อมูลแต่ละด้าน
85 เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบเส้นโครงแผนที่แบบทรานสเวิร์สเมอร์เคเตอร์ เพื่อให้ได้แผนที่ที่มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน
เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายทั้งในกิจการทหารและกิจการพลเรือน อ้างอิงจาก เว็บไซต์ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ
ภูมิสารสนเทศ https://www.gistda.or.th/main/th/node/873
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2-55