Page 61 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 61
บทที่ 2
แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก าหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติของ
ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ การขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าท าประโยชน์
หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการบ ารุงป่าหรือปลูกสร้างสวนป่าหรือ
ไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรม
เสนอแนะการก าหนดค่าตอบแทนการอนุญาตตามมาตรา 20 ต่อรัฐมนตรี (การ
อนุญาตให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดท าการบ ารุงป่าหรือปลูกสร้างสวนป่าหรือไม้ยืนต้น
ในเขตป่าเสื่อมโทรมได้ภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่ก าหนด
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่
มอบหมาย
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือด าเนินการอื่นตามที่
คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
− ห้ามมิให้ราษฎรเข้าไปยึดถือครอบครองท าประโยชน์หรืออยู่อาศัยในป่าสงวนแห่งชาติ
ตลอดจนห้ามก่นสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ท าไม้ เก็บหาของป่า หรือกระท าด้วยประการใดๆ
ซึ่งจะท าให้เสื่อมเสียสภาพของป่า (มาตรา 14) โดยมีข้อยกเว้นว่าเป็นการท าไม้หรือเก็บ
หาของป่าโดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
(มาตรา 15) หรือได้รับอนุญาตให้ท าประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
(มาตรา 16, มาตรา 16 ทวิ, และ มาตรา 16 ตรี) หรือได้รับอนุญาตให้ศึกษาหรือวิจัย
ทางวิชาการ หรือเป็นกรณีการเข้าไป การผ่าน หรือการใช้ทาง การน าหรือปล่อยสัตว์
เลี้ยงเข้าไปตามระเบียบที่อธิบดีกรมป่าไม้ก าหนด หรือการได้รับอนุญาตให้ท าการบ ารุง
ป่าหรือปลูกสร้างสวนป่าหรือไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรม
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (มีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งจะ
ได้กล่าวถึงในหัวข้อถัดไป)
− เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้คือ เพื่อปรับปรุงให้มาตรการในการสงวนและคุ้มครอง
สัตว์ป่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้ง
เนื่องจากมาตรการต่างๆ ที่มีอยู่ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503
ฉบับเดิมนั้น ไม่สามารถท าให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และได้ผลดังวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
− การก าหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้มีแผนที่แสดง
แนวเขตแห่งบริเวณที่ก าหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา และที่ดินที่ก าหนดให้เป็น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น ต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตาม
ประมวลกฎหมายที่ดินของบุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง (มาตรา 33) การขยายหรือ
การเพิกถอนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าให้กระท าได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2-43