Page 19 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 19
บทที่ 2
แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในส่วนนี้จะเป็นการทบทวนบริบทของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ เพื่อให้เห็นภาพรวมของแนวคิดในการจัดการทรัพยากร
ทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ ผู้วิจัยจะศึกษาจาก (1) สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ
(3) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เพื่อน ามา
พิจารณาประกอบกับกรณีศึกษาในพื้นที่ (บทที่ 3) อันจะน าไปสู่การวิเคราะห์สภาพปัญหา แนวทางในการ
รับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมบนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (บทที่ 4 บทที่ 5 และ บทที่ 6)
2.1 สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในหัวข้อนี้จะเป็นการศึกษารวบรวมสิทธิมนุษยชนที่ได้มีการรองรับไว้ใน (1) บริบทกฎหมายระหว่าง
ประเทศ และ (2) บริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อหาขอบเขตที่ชัดเจน
ของสิทธิของปัจเจกชนและชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะน าไปพิจารณา
ประกอบกับแนวคิด กฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.1.1 กฎหมายระหว่างประเทศ
จากการตรวจสอบตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ประเทศไทยเป็น
ภาคีและไม่ได้เป็นภาคี และทั้งที่มีและไม่มีผลผูกพัน รวมถึงค าวินิจฉัย ซึ่งได้วางหลักการ หรือก าหนดบทบาท
สิทธิ หน้าที่ระหว่างปัจเจก ชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้าใจถึงขอบเขตของสิทธิ
ของปัจเจกและสิทธิของชุมชนในบริบทสากล โดยเฉพาะสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน และน าไปพิจารณา
กับเรื่องสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยในหัวข้อถัดไป อาจสรุปเป็น
ประเด็นได้ ดังนี้
2-1