Page 85 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 85

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                            หน้า   ๗๖
                   เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                           มาตรา  ๒๕๖  ภายใต้บังคับมาตรา  ๒๕๕  การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  ให้กระทําได้
                   ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ  ดังต่อไปนี้

                           (๑)  ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี  หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวน
                   ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร  หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                   และสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
                   หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

                           (๒)  ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภา
                   พิจารณาเป็นสามวาระ

                           (๓)  การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ  ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย
                   และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมด

                   เท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  ซึ่งในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของ
                   จํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

                           (๔)  การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลําดับมาตรา  โดยการออกเสียงในวาระที่สองนี้
                   ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ  แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ

                   ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย
                           (๕)  เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว  ให้รอไว้สิบห้าวัน  เมื่อพ้นกําหนดนี้แล้วให้รัฐสภา

                   พิจารณาในวาระที่สามต่อไป
                           (๖)  การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย  ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย

                   และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิก
                   ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  โดยในจํานวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิก

                   มิได้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี  ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร  เห็นชอบด้วย
                   ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน  และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า

                   หนึ่งในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
                           (๗)  เมื่อมีการลงมติเห็นชอบตาม  (๖)  แล้ว  ให้รอไว้สิบห้าวัน  แล้วจึงนําร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

                   ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย  และให้นําความในมาตรา  ๘๑  มาใช้บังคับโดยอนุโลม
                           (๘)  ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด  ๑  บททั่วไป  หมวด  ๒

                   พระมหากษัตริย์  หรือหมวด  ๑๕  การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ  หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะ
                   ต้องห้ามของผู้ดํารงตําแหน่งต่าง ๆ  ตามรัฐธรรมนูญ  หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออํานาจของศาล

                   หรือองค์กรอิสระ  หรือเรื่องที่ทําให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออํานาจได้  ก่อนดําเนินการ
                   ตาม  (๗)  ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ  ถ้าผลการออกเสียง

                   ประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  จึงให้ดําเนินการตาม  (๗)  ต่อไป


                    76





                         .indd   76                                                                               27/8/2562   12:27:07
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90