Page 82 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 82

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                               หน้า   ๗๓
                      เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                              กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์
                      ทรงแต่งตั้ง  และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว
                              คุณสมบัติ  ลักษณะต้องห้าม  การสรรหา  และการพ้นจากตําแหน่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                      แห่งชาติ  ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                      ทั้งนี้  บทบัญญัติเกี่ยวกับการสรรหาต้องกําหนดให้ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนมีส่วนร่วม

                      ในการสรรหาด้วย
                              มาตรา  ๒๔๗  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และอํานาจ  ดังต่อไปนี้
                              (๑)  ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้า

                      และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน  รวมทั้ง
                      การเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง

                              (๒)  จัดทํารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อรัฐสภา
                      และคณะรัฐมนตรี  และเผยแพร่ต่อประชาชน
                              (๓)  เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา

                      คณะรัฐมนตรี  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย  กฎ  ระเบียบ
                      หรือคําสั่งใด ๆ  เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน

                              (๔)  ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์
                      เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
                              (๕)  สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสําคัญของสิทธิมนุษยชน

                              (๖)  หน้าที่และอํานาจอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
                              เมื่อรับทราบรายงานตาม  (๑)  และ  (๒)  หรือข้อเสนอแนะตาม  (๓)  ให้คณะรัฐมนตรีดําเนินการ

                      ปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสมโดยเร็ว  กรณีใดไม่อาจดําเนินการได้หรือต้องใช้เวลาในการดําเนินการ
                      ให้แจ้งเหตุผลให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบโดยไม่ชักช้า
                              ในการปฏิบัติหน้าที่  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคํานึงถึงความผาสุกของประชาชน

                      ชาวไทยและผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นสําคัญด้วย

                                                               หมวด  ๑๓
                                                              องค์กรอัยการ



                              มาตรา  ๒๔๘  องค์กรอัยการมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

                              พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว  เที่ยงธรรม
                      และปราศจากอคติทั้งปวง  และไม่ให้ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง
                              การบริหารงานบุคคล  การงบประมาณ  และการดําเนินการอื่นขององค์กรอัยการให้มีความเป็นอิสระ

                      โดยให้มีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะตามความเหมาะสมและการบริหารงานบุคคล



                                                                                                            73




                         .indd   73                                                                               27/8/2562   12:27:05
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87