Page 77 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 77

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                            หน้า   ๖๘
                   เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                           (๖)  เป็นผู้มีความรู้ความชํานาญและประสบการณ์ทางด้านการบริหาร  การเงิน  การคลัง
                   การบัญชี  หรือการบริหารกิจการวิสาหกิจในระดับไม่ต่ํากว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมหาชนจํากัดมาแล้ว

                   ไม่น้อยกว่าสิบปี
                           (๗)  เคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งตาม  (๑)  (๒)  (๓)  (๔)  หรือ  (๖)  รวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี

                           การนับระยะเวลาตามวรรคสอง  ให้นับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อหรือวันสมัครเข้ารับการสรรหา
                   แล้วแต่กรณี

                           มาตรา  ๒๓๓  กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดํารงตําแหน่งเจ็ดปี
                   นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว

                           ในระหว่างที่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ
                   และยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการแทนตําแหน่งที่ว่าง  ให้กรรมการเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้

                   เว้นแต่จะมีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน
                           มาตรา  ๒๓๔  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีหน้าที่และอํานาจ

                   ดังต่อไปนี้
                           (๑)  ไต่สวนและมีความเห็นกรณีมีการกล่าวหาว่าผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง  ตุลาการ

                   ศาลรัฐธรรมนูญ  ผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ  หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน  ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ํารวย
                   ผิดปกติ  ทุจริตต่อหน้าที่  หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

                   หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง  เพื่อดําเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
                   หรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
                           (๒)  ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ํารวยผิดปกติ  กระทําความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่

                   หรือกระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ  หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

                   เพื่อดําเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
                           (๓)  กําหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ผู้ดํารงตําแหน่ง

                   ในองค์กรอิสระ  ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน  และเจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน
                   คู่สมรส  และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  รวมทั้งตรวจสอบและเปิดเผยผลการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน

                   ของบุคคลดังกล่าว  ทั้งนี้  ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
                           (๔)  หน้าที่และอํานาจอื่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

                           ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม  (๑)  (๒)  และ  (๓)  ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
                   การทุจริตแห่งชาติที่จะต้องจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะทําให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ

                   เกิดความรวดเร็ว  สุจริต  และเที่ยงธรรม  ในกรณีจําเป็นจะมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอํานาจ
                   เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดําเนินการแทนในเรื่องที่มิใช่เป็นความผิดร้ายแรง

                   หรือที่เป็นการกระทําของเจ้าหน้าที่ของรัฐบางระดับหรือกําหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยธุรการ


                    68





                         .indd   68                                                                               27/8/2562   12:27:04
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82