Page 75 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 75

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                            หน้า   ๖๖
                   เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                   คุมขัง  หรือหมายเรียกตัวกรรมการการเลือกตั้งไปสอบสวน  เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
                   การเลือกตั้ง  หรือในกรณีที่จับในขณะกระทําความผิด
                           ในกรณีที่มีการจับกรรมการการเลือกตั้งในขณะกระทําความผิด  หรือจับหรือคุมขังกรรมการ

                   การเลือกตั้งในกรณีอื่น  ให้รายงานต่อประธานกรรมการการเลือกตั้งโดยด่วน  และให้ประธานกรรมการ
                   การเลือกตั้งมีอํานาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้  แต่ถ้าประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ถูกจับหรือคุมขัง

                   ให้เป็นอํานาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่เป็นผู้ดําเนินการ

                                                             ส่วนที่  ๓

                                                         ผู้ตรวจการแผ่นดิน


                           มาตรา  ๒๒๘  ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจํานวนสามคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนํา

                   ของวุฒิสภา  จากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา
                           ผู้ซึ่งได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์  และมีความรู้  ความเชี่ยวชาญ

                   และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินไม่ต่ํากว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า
                   หรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เทียบได้ไม่ต่ํากว่ากรมตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด  โดยต้อง
                   ดํารงตําแหน่งดังกล่าวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี  จํานวนสองคน  และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการดําเนินกิจการ

                   อันเป็นสาธารณะมาแล้วไม่น้อยกว่ายี่สิบปี  จํานวนหนึ่งคน
                           มาตรา  ๒๒๙  ผู้ตรวจการแผ่นดินมีวาระการดํารงตําแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์

                   ทรงแต่งตั้ง  และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว
                           มาตรา  ๒๓๐  ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่และอํานาจ  ดังต่อไปนี้

                           (๑)  เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย  กฎ  ข้อบังคับ
                   ระเบียบ  หรือคําสั่ง  หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ  บรรดาที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม

                   แก่ประชาชน  หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จําเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ
                           (๒)  แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจาก
                   การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนือหน้าที่และอํานาจตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ

                   หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  เพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ขจัดหรือระงับความเดือดร้อน
                   หรือความไม่เป็นธรรมนั้น

                           (๓)  เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน
                   ตามหมวด  ๕  หน้าที่ของรัฐ

                           ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ดําเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินตาม
                   (๑)  หรือ  (๒)  โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อพิจารณาสั่งการ

                   ตามที่เห็นสมควรต่อไป



                    66





                         .indd   66                                                                               27/8/2562   12:27:03
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80