Page 70 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 70

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                               หน้า   ๖๑
                      เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                              การยื่นคําร้องและเงื่อนไขการยื่นคําร้อง  การพิจารณาวินิจฉัย  การทําคําวินิจฉัย  และการดําเนินงาน
                      ของศาลรัฐธรรมนูญ  นอกจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว  ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

                      ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
                              ให้นําความในมาตรา  ๑๘๘  มาตรา  ๑๙๐  มาตรา  ๑๙๑  และมาตรา  ๑๙๓  มาใช้บังคับแก่

                      ศาลรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม
                              มาตรา  ๒๑๑  องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทําคําวินิจฉัย

                      ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเจ็ดคน
                              คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมาก  เว้นแต่รัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

                              เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องใดไว้พิจารณาแล้ว  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดจะปฏิเสธไม่วินิจฉัย
                      โดยอ้างว่าเรื่องนั้นไม่อยู่ในอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญมิได้

                              คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด  มีผลผูกพันรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  ศาล  องค์กรอิสระ
                      และหน่วยงานของรัฐ

                              มาตรา  ๒๑๒  ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด  ถ้าศาลเห็นเอง
                      หรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยมาตรา  ๕  และยังไม่มีคําวินิจฉัย

                      ของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น  ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
                      เพื่อวินิจฉัย  ในระหว่างนั้น  ให้ศาลดําเนินการพิจารณาต่อไปได้แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว

                      จนกว่าจะมีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
                              ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคําโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง  ไม่เป็นสาระอันควรได้รับ

                      การวินิจฉัย  ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้
                              คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง  แต่ไม่กระทบต่อคําพิพากษาของศาล

                      อันถึงที่สุดแล้ว  เว้นแต่ในคดีอาญาให้ถือว่าผู้ซึ่งเคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทําความผิดตามบทบัญญัติ
                      แห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยมาตรา  ๕  นั้น  เป็นผู้ไม่เคยกระทําความผิดดังกล่าว

                      หรือถ้าผู้นั้นยังรับโทษอยู่ก็ให้ปล่อยตัวไป  แต่ทั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ
                              มาตรา  ๒๑๓  บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคําร้อง

                      ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคําวินิจฉัยว่าการกระทํานั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์
                      วิธีการ  และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

                              มาตรา  ๒๑๔  ในกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา  ๒๓๕
                      วรรคสาม  และมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหลืออยู่ไม่ถึงเจ็ดคน  ให้ประธานศาลฎีกาและประธาน

                      ศาลปกครองสูงสุดร่วมกันแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับตุลาการ
                      ศาลรัฐธรรมนูญทําหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราวให้ครบเก้าคน  โดยให้ผู้ซึ่งได้รับ






                                                                                                             61




                         .indd   61                                                                               27/8/2562   12:27:01
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75