Page 64 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 64

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                               หน้า   ๕๕
                      เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                              มาตรา  ๑๙๒  ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจระหว่างศาลยุติธรรม  ศาลปกครอง
                      หรือศาลทหาร  ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
                      ประธานศาลปกครองสูงสุด  หัวหน้าสํานักตุลาการทหาร  และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินสี่คนตามที่กฎหมายบัญญัติ

                      เป็นกรรมการ
                              หลักเกณฑ์และวิธีการชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจระหว่างศาลตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไป

                      ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                              มาตรา  ๑๙๓  ให้แต่ละศาล  ยกเว้นศาลทหาร  มีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานธุรการที่มีความเป็นอิสระ

                      ในการบริหารงานบุคคล  การงบประมาณ  และการดําเนินการอื่น  โดยให้มีหัวหน้าหน่วยงานคนหนึ่งเป็น
                      ผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานของแต่ละศาล  ทั้งนี้  ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                              ให้ศาลยุติธรรมและศาลปกครองมีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะตามความเหมาะสม
                      ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                                                ส่วนที่  ๒

                                                              ศาลยุติธรรม


                              มาตรา  ๑๙๔  ศาลยุติธรรมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง  เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญ

                      หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอํานาจของศาลอื่น
                              การจัดตั้ง  วิธีพิจารณาคดี  และการดําเนินงานของศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

                              มาตรา  ๑๙๕  ให้มีแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา  โดยองค์คณะ
                      ผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษา

                      อาวุโสซึ่งเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา  ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
                      จํานวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

                      วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง  โดยให้เลือกเป็นรายคดี
                              ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่
                      บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

                              วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง  ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบ
                      รัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

                              คําพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง  ให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่
                      ศาลฎีกาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีคําพิพากษา

                              การวินิจฉัยอุทธรณ์ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามวรรคสี่  ให้ดําเนินการโดยองค์คณะของศาลฎีกา

                      ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

                      หรือผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาซึ่งไม่เคยพิจารณา



                                                                                                             55




                         .indd   55                                                                               27/8/2562   12:26:59
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69