Page 46 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 46
บทที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐาน
ส่วนที่ ๓ แผนยุทธศำสตร์คณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ส�านักงาน กสม. ได้รับงบประมาณจ�านวน ๒๑๖,๔๕๕,๙๐๐ บาท มีการด�าเนินงาน บทที่ ๑
ตามแผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๕ เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจ
จึงได้ก�าหนดเป้าประสงค์และแผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังนี้
เป้าประสงค์หลัก
ทุกภาคส่วนของสังคมมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน รวมทั้งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ
เสรีภาพ และความเสมอภาค
เป้าประสงค์รอง
๑. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เกิดผลให้มีและเปลี่ยนแปลงในด้านนโยบาย
ของรัฐบาล ตลอดจนการตรากฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยจะต้อง
ปฏิบัติตาม และการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
๒. กสม. มีประสิทธิภาพในการท�างาน โดยเฉพาะการท�างานเชิงรุกและเน้นประเด็นส�าคัญที่มีผลกระทบต่อสังคม
ทั้งด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๓. กสม. มีความเข้มแข็งทางวิชาการเพื่อเป็นสถาบันหลักในด้านสิทธิมนุษยชน
๔. การด�าเนินงานของ กสม. ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนสูงยิ่งขึ้น
๕. การยกสถานะ กสม. ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
แผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๕
เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ก�าหนด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ก�าหนดยุทธศาสตร์ที่จะด�าเนิน
การในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๕ ดังต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ส่งเสริมและติดตามให้ทุกภาคส่วนของสังคมเกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนตามที่ได้รับการรับรอง
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายไทย และพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยจะ
ต้องปฏิบัติตาม
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ เน้นการด�าเนินงานที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของภาครัฐและภาคเอกชน โดย
การขับเคลื่อนและผลักดันอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ มุ่งการท�างานร่วมกับเครือข่ายภายในประเทศและพันธมิตรในเวทีระหว่างประเทศเพื่อให้เกิด
การสร้างพลัง (synergy) ในการท�างานร่วมกัน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 45