Page 43 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 43
บทที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐาน
ส่วนที่ ๑ คณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
๑.๑ ความเป็นมา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประเภท “องค์กรอื่นตาม
รัฐธรรมนูญ” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งมาตรา ๒๕๖ บัญญัติให้คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอื่นอีก ๖ คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรง
แต่งตั้งตามค�าแนะน�าของวุฒิสภา โดยมีวาระการด�ารงต�าแหน่ง ๖ ปี และด�ารงต�าแหน่งได้เพียงวาระเดียว สืบเนื่องจากประกาศ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย ก�าหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด ๒ และให้
องค์กรอิสระ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ท�าให้ กสม.
ชุดที่ ๒ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้นยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ทั้งนี้ กสม. ชุดที่ ๒ ครบวาระการด�ารงต�าแหน่งเมื่อวันที่ ๒๔
มิถุนายน ๒๕๕๘ แต่เนื่องจากกระบวนการการสรรหา กสม. ชุดที่ ๓ ยังด�าเนินการไม่แล้วเสร็จ ท�าให้ กสม. ชุดที่ ๒ ปฏิบัติ
หน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสม. ชุดที่ ๓ ต่อมา ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง กสม. ชุดที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ และ กสม. ชุดที่ ๓ ได้เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ โดยมีวาระการด�ารงต�าแหน่ง ๖ ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และด�ารงต�าแหน่งได้เพียงวาระเดียว
๑.๒ อ�านาจหน้าที่
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๗ บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติมีหน้าที่และอ�านาจ ดังนี้
๑. ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณี โดยไม่ล่าช้า และเสนอแนะ
มาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับความเสีย
หายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง
๒. จัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี
และเผยแพร่ต่อประชาชน
๓. เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค�าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลัก
สิทธิมนุษยชน
๔. ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
๕. สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความส�าคัญของสิทธิมนุษยชน
๖. หน้าที่และอ�านาจอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
42 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐