Page 83 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 83

81
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                     ๒.  การพิจารณาคำาร้อง

                         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ (๕)  และพระราชบัญญัติ

                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓) กำาหนดให้คณะกรรมการ
                     สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำานาจหน้าที่ “เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และ
                     กฎต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน”

                         เมื่อพิจารณาคำาร้องดังกล่าวแล้วเห็นว่า เป็นกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                     พิจารณาเห็นควรนำาเรื่องร้องเรียนอันมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับบริการในกรณีต่างๆ ดังกล่าวเข้าสู่
                     การพิจารณาและแก้ปัญหา โดยจัดทำาเป็นข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
                     และกฎว่าด้วยระบบการให้บริการสาธารณสุขและสิทธิในการรับบริการสาธารณสุข ต่อรัฐสภาหรือ

                     คณะรัฐมนตรี เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริงและมีผลต่อภาพรวมในการคุ้มครอง

                     สิทธิของผู้รับบริการสาธารณสุขต่อไป




                     ๓. ข้อเท็จจริงและข้อมูลประกอบการพิจารณา

                           ๓.๑  สภาพปัญหาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละระบบบริการสาธารณสุข


                                ๑)  กรอบแนวคิดในการจัดบริการสาธารณสุข การจัดบริการสาธารณสุขของ
                     ประเทศไทยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของระบบบริการสาธารณสุขอย่างน้อย ๓ ระบบ แต่ละระบบ

                     มีกรอบแนวคิดที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
                                     ๑)  ระบบหลักประกันสุขภ�พแห่งช�ติ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ

                     แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ อยู่ภายใต้หลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งรับรองให้บุคคลมี
                     สิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม ได้มาตรฐาน อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

                                     ๒)  ระบบประกันสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เน้นการให้
                     สังคมดูแลซึ่งกันและกัน รัฐจะดูแลประชาชน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีระบบการคลังที่ยั่งยืน และ

                                     ๓)  ระบบสวัสดิก�รข้�ร�ชก�ร ตามพระราชกฤษฎีกา เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการ
                     รักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นสวัสดิการที่รัฐให้แก่ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เป็นผลให้แต่ละ

                     ระบบมีประเภทและวิธีจัดบริการสาธารณสุขไม่เหมือนกัน
                                นอกจากทั้งสามระบบข้างต้นแล้ว ยังมีระบบบริการสาธารณสุขของพนักงานหรือลูกจ้าง

                     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐอีกด้วย

                                ๒)  ความเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม ได้มาตรฐาน :
                     ข้อแตกต่างกันระหว่างระบบบริการสาธารณสุข ๓ ระบบ แบ่งเป็น ประเภทบริการฯ สถานพยาบาล

                     การร่วมจ่ายค่าบริการ/ค่ายา การจ่ายเงินให้โรงพยาบาล และการประกันมาตรฐานของบริการฯ ดังนี้
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88