Page 82 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 82

80  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                  ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ด้านคดีสิทธิมนุษยชน) ในการประชุม

                  ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ มีมติดังนี้ ๑) พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
                  มาตรา ๔๖ ไม่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

                  ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ และ ๕๑ เนื่องจากไม่เป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และไม่ขัดต่อหลัก
                  ความเสมอภาคในการรับบริการสาธารณสุข และไม่ขัดต่อบทบัญญัติตามมาตรา ๘๐ (๒) ซึ่งอยู่ใน

                  หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และไม่มีสภาพบังคับ  ๒) มอบหมายให้คณะอนุกรรมการ
                  ด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ

                  มนุษยชน พิจารณาดำาเนินการในส่วนเกี่ยวกับนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระบบ
                  การให้บริการสาธารณสุขและสิทธิในการได้รับบริการดังกล่าว


                        ๑.๖  คำาร้องที่ ๖๕/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ผู้ร้อง นายชัยรัตน์ สร้อยแสง ขอให้

                             เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่า
                             พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๙ มีผลกระทบต่อ

                  สิทธิมนุษยชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครอง เรื่องขอให้
                  เพิกถอนระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ ๓๙๘ ว่าด้วยการช่วยเหลือพนักงานเกี่ยวกับการรักษา

                  พยาบาลและคลอดบุตร  ข้อ ๖.๔ ซึ่งกำาหนดว่า บิดา มารดาของพนักงานฯ จะได้รับการช่วยเหลือ
                  ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท

                             คณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและกลั่นกรองรายงานผลการตรวจสอบการ
                  ละเมิดสิทธิมนุษยชนในการประชุม ครั้งที่ ๕/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีมติให้ส่งเรื่อง

                  ให้สำานักวินิจฉัยและคดีพิจารณาดำาเนินการ  และสำาเนาให้คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบาย
                  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทราบ













                  ๓๖ (ต่อ)
                       มาตรา ๕๑  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้
                       มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย วรรคสอง บุคคลย่อมมี
                       สิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
                       มาตรา ๘๐  รัฐต้องดำาเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
                       (๒)  ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ อันนำาไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของ
                       ประชาชน .... ผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความ
                       คุ้มครองตามกฎหมาย
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87