Page 81 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 81

79
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                           ๑.๓  คำาร้องที่ ๕๖๕/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ผู้ร้อง แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา

                                ร้องเรียนว่า
                                พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทำาให้เกิดความไม่เสมอภาค

                     และไม่เป็นธรรมแก่ผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เนื่องจากผู้ประกันตน
                     ไม่อาจรับสิทธิบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ เช่น การส่งเสริม

                     สุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจคัดกรองก่อนเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสุขภาพ เนื่องจากผู้ร้องประสงค์
                     ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอแนะเพื่อปรับปรุงกฎหมาย  คณะอนุกรรมการ

                     สิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านกฎหมายและสิทธิในกระบวนการยุติธรรม (ชื่อในขณะนั้น) ในการ
                     ประชุม ครั้งที่ ๓๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ จึงมีมติให้ส่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ไปยัง

                     คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
                     และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (ชื่อในขณะนั้น) พิจารณาดำาเนินการ



                           ๑.๔  คำาร้องที่ ๑๗๖/๒๕๕๑  ลงวันที่  ๑๗  เมษายน  ๒๕๕๑  ผู้ร้อง  นางสาวสุกัญญา ศรีเพียงจันทร์
                                ร้องแทน
                                       นางสาวเพียงเพ็ญ ศรีเพียงจันทร์ พี่สาวและผู้เสียหาย ว่า
                                เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ผู้เสียหายซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติ

                     ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ขณะนี้ได้ลาออกแล้ว ระหว่างเป็นผู้ประกันตนได้พยายามฆ่าตัวตาย
                     ต่อมา แพทย์ช่วยชีวิตไว้ได้ และต้องรับการรักษาอาการต่อเนื่องประมาณ ๒ ปี ปรากฏว่าไม่อาจได้รับ

                     การคุ้มครองตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา ๖๑ เนื่องจาก จงใจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยหรือ
                     อันตราย และเมื่อลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ก็ไม่อาจได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ

                     หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ เนื่องจากระยะเวลาการลาออกยังไม่ครบ ๖ เดือน
                     คณะอนุกรรมการพิจาณาเรื่องร้องเรียนและกลั่นกรองรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                     ในการประชุมครั้งที่ ๒๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ จึงมีมติให้สำาเนาเรื่องให้คณะอนุกรรมการ
                     นี้สำาหรับประกอบการจัดทำาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป


                           ๑.๕  คำาร้องที่ ๑๕๘/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ ผู้ร้อง นายนิมิตร์ เทียนอุดม ชมรม

                                พิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ร้องเรียนว่า
                                พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งกำาหนดให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ

                     เข้ากองทุนประกันสังคม แต่กลับได้รับบริการด้านสาธารณสุขซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
                     แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ น้อยกว่าระบบบริการสาธารณสุขอื่น จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ

                     มาตรา ๓๐ มาตรา ๕๑ และมาตรา ๘๐ (๒)  ๓๖




                     ๓๖  มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
                         วรรคสาม การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล .....จะกระทำามิได้
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86