Page 80 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 80
78 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
จึงเบิกค่าใช้จ่ายจากธนาคารฯ ได้เพียงบางส่วน อีกทั้งบิดา มารดา ไม่อาจขอรับสิทธิการรักษาพยาบาล
ตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้
ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีมติต่อคำาร้องที่ ๑๙๒/๒๕๕๑ ว่าพระราชบัญญัติ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๙ และ ๑๐ มีเงื่อนไขว่าด้วยการให้บริการสาธารณสุข
ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๑
ประกอบมาตรา ๓๐ และเสนอมาตรการแก้ไข โดยให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสมควร
พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๙ และ ๑๐
จากเดิม ให้ผู้มีสิทธิรับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายอื่นต้องไปใช้สิทธิตามกฎหมายนั้น เป็น “ให้
ผู้รับบริการต้องใช้สิทธิจากระบบอื่นที่ตนเองมีอยู่ก่อน หากสิทธินั้นด้อยกว่าและหรือไม่ครอบคลุม
เท่ากับสิทธิที่จะได้รับตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ได้รับสิทธิเท่ากับที่ระบบหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติกำาหนดไว้ โดยสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต้องรับผิดชอบในส่วนต่างนั้น ทั้งนี้
โดยคำานึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้มีสิทธิเป็นหลัก ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ”
ส่วนคำาร้องที่ ๓๗๓/๒๕๕๓ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมอบหมายให้
คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิผู้สูงอายุ ผู้พิการ และการได้รับบริการสาธารณสุข
(ชื่อขณะนั้น) ดำาเนินการตรวจสอบ และคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านเสนอแนะ
นโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ซึ่งต่อมาคือ คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนพิจารณาดำาเนินการเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการ
ปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ต่อไป
๑.๒ เลขาธิการวุฒิสภาแจ้งตามหนังสือ ที่ สว ๐๐๐๑/๓๘๐๑ ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ถึง
สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่า
ได้รับคำาร้องเรียนจากนาวาอากาศโทสุรเชษฐ์ ทองเจริญ ว่าบทบัญญัติของพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ มีลักษณะละเมิดหรือลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
ใน ๒ กรณี คือ ๑) ลูกจ้างที่เป็นข้าราชการบำานาญหรือข้าราชการประจำาที่รับจ้างทำางานให้นายจ้าง
นอกเวลาราชการ/วันหยุดราชการ และถูกหักค่าจ้างบางส่วนเข้ากองทุนประกันสังคม เมื่อเจ็บป่วย
และเข้ารักษาในโรงพยาบาล ต้องเบิกจ่ายตามระบบประกันสังคม ซึ่งด้อยกว่า ไม่อาจใช้สิทธิ
ตามระบบสวัสดิการข้าราชการได้ ๒) ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน เมื่อป่วยทางจิตเวช ไม่อาจใช้
สิทธิเบิกจ่ายตามระบบประกันสังคมได้ ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้
เสนอคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุง
กฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (ชื่อในขณะนั้น) พิจารณาดำาเนินการเสนอ
แนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ในเรื่องนี้