Page 77 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 77

75
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                     จึงเห็นว่าไม่ควรกำาหนดความผิดที่จะต้องรับโทษทางอาญาไว้ในกฎหมายฉบับนี้  และหากการกระทำา

                     ผิดนั้นเข้าข่ายเป็นความผิดทางอาญา ก็สามารถดำาเนินคดีอาญาไปตามกฎหมายนั้นๆ ได้อยู่แล้ว


                                     ประเด็นที่ ๘  การกำาหนดกลไกรองรับเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ
                     ผู้ชุมนุม

                                     ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการชุมนุมสาธารณะที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่
                     ชุมนุมเนื่องจากความเดือดร้อนจากปัญหาปากท้อง หรือราคาพืชผลตกต่ำา ซึ่งมีการชุมนุมยึดเยื้อ

                     ยาวนาน เนื่องจากไม่มีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้าไปพิจารณาและช่วยแก้ไขปัญหา  ซึ่งหากร่าง
                     พระราชบัญญัติฉบับนี้กำาหนดให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกลไกการรับเรื่องที่มีการชุมนุมดังกล่าว ทั้งใน

                     ระดับชาติและระดับท้องถิ่น ก็น่าจะช่วยให้ความทุกข์ร้อนของประชาชนได้รับการแก้ไขได้ทันท่วงที
                     มากขึ้น และช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ

                                     ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวน พ.ศ. ..... มาตรา ๑๒
                     ที่ยกร่างโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทจิรา  เอี่ยมมยุรา บัญญัติให้รัฐกำาหนดกลไกรองรับการชุมนุม

                     สาธารณะหรือเดินขบวนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการ
                     แผ่นดินอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นการเฉพาะเจาะจง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำานาจได้รับแจ้งการชุมนุม

                     สาธารณะแล้ว ให้รายงานต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อแต่งตั้งคณะทำางานประสานงานรับเรื่องและแก้ไข
                     ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน  อย่างน้อยต้องประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือบุคคลที่นายก

                     รัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานคณะทำางาน หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดการชุมนุม
                     สาธารณะ หรือผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ  โดยมีผู้แทนสำานักงานตำารวจแห่งชาติเป็นเลขานุการ

                     คณะทำางาน และดำาเนินการจัดประชุมคณะทำางานโดยเร็วเพื่อปรึกษาหารือแนวทางในการแก้ไข
                     ปัญหาที่เรียกร้องนั้น และรายงานความก้าวหน้า หรือผลการประชุมต่อคณะรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่อง

                     และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวให้ทราบเป็นการทั่วไป

                                     คว�มเห็นและข้อเสนอแนะ

                                     ร่างพระราชบัญญัตินี้ควรกำาหนดให้มีกลไกรองรับการชุมนุมสาธารณะที่มี
                     วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินอย่างหนึ่งอย่างใด

                     เป็นการเฉพาะ โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
                                     ๑)  ส่วนกลาง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็น

                     ประธาน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ หรือผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ
                     โดยมีผู้แทนสำานักงานตำารวจแห่งชาติเป็นเลขานุการคณะทำางาน

                                     ๒)  ส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด
                     มอบหมายหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดการ

                     ชุมนุมสาธารณะ หรือผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ โดยมีผู้กำากับการสถานีตำารวจภูธรจังหวัดเป็น
                     เลขานุการคณะทำางาน
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82