Page 76 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 76

74   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  หรือสภาพเฉพาะของเรื่อง จึงไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน แต่ก็มิใช่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะ

                  กำาหนดเงื่อนไขหรือข้อจำากัดเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่ มิได้เสียเลย ทั้งนี้ เพื่อมิให้กระทบต่อเสรีภาพ
                  ของบุคคลที่สามที่จะใช้ที่สาธารณะนั้นเกินจำาเป็น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ในการจัดความสมดุล

                  ระหว่างเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิดเห็นและในการชุมนุมสาธารณะกับเสรีภาพของบุคคล
                                         ๓๕
                  ที่สามที่จะใช้ที่สาธารณะนั้น


                                  คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                  บทบัญญัติการใช้อำานาจของเจ้าหน้าที่ในหมวดนี้ ยังบัญญัติในลักษณะเป็นการ

                  อำานวยความสะดวกและคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐมากกว่าการกำาหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่
                  ต้องส่งเสริม คุ้มครอง หรืออำานวยความสะดวกต่อกลุ่มผู้ชุมนุมสาธารณะ  โดยเห็นว่า ควรกำาหนด

                  กฎเกณฑ์เกี่ยวกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ เช่น เมื่อมีเหตุร้าย
                  เกิดแก่ผู้ชุมนุม แล้วละเลยไม่ทำาหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ชุมนุม หรือกำาหนดให้เจ้าหน้าที่มี

                  หน้าที่ในการห้ามปรามกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้อื่นใช้กำาลังเพียงให้ยุติหรือเลิกการชุมนุม และมีบทลงโทษ
                  กำากับ


                                  ประเด็นที่ ๗  บทกำาหนดโทษจำาคุกแก่ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะกรณีฝ่าฝืน
                  หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๓๐ ถึงมาตรา ๓๘)

                                  เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่สำาคัญซึ่งได้รับการรับรอง
                  และคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตลอดมา บุคคลผู้มีบทบาทอย่างสำาคัญที่จะทำาให้

                  การชุมนุมสาธารณะเกิดขึ้นและดำาเนินไปได้ คือ ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งความผิดที่จะเกิดขึ้น
                  ตามกฎหมายนี้ มีลักษณะเป็นความผิดทางปกครองอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม

                  กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะหรือฝ่าฝืนคำาสั่งทางปกครอง โทษที่จะลงแก่ผู้จัดการชุมนุม
                  สาธารณะจึงควรเป็นโทษทางปกครอง

                                  ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะมีหน้าที่จัดการชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบและสันติ แต่หาก
                  การชุมนุมมิได้ดำาเนินไปโดยสงบและสันติโดยที่ผู้จัดการชุมนุมได้ใช้ความพยายามอย่างเพียงพอแล้ว

                  ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะก็ไม่ต้องรับผิดชอบ รวมทั้ง ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อการกระทำาของผู้ที่มิได้
                  เข้าร่วมการชุมนุมอย่างแท้จริง (Non-Participants) หรือในความผิดที่ผู้เข้าร่วมการชุมนุมแต่ละคนได้

                  กระทำาด้วย

                                  คว�มเห็นและข้อเสนอ

                                  การชุมนุมที่ถูกห้ามหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขกฎหมาย เป็นเรื่องการขัดคำาสั่งทางการ
                  ปกครอง การลงโทษควรเป็นโทษทางปกครอง (ปรับทางปกครอง) ไม่ใช่โทษอาญา (จำาคุก) เพราะการ

                  ชุมนุมเป็นสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ ผู้ที่กระทำาความผิดไม่ใช่อาชญากร



                  ๓๕  อ้างแล้ว ๖ หน้า ๓๓ - ๓๔
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81