Page 75 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 75
73
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น เหตุเพียงเพราะชุมนุมโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า และอยู่ระหว่างการขอรับ
อนุญาตผ่อนผันเท่านั้น ซึ่งจำาเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงไปพร้อมกันด้วย
๖.๓ ควรเพิ่มอำานาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม คุ้มครอง และอำานวยความ
สะดวกต่อกลุ่มผู้ชุมนุม และบทลงโทษแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติฝ่าฝืนหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
บทบาทอำานาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุม
สาธารณะ คือการส่งเสริม คุ้มครองและอำานวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุม กรณีที่จะใช้มาตรการบังคับ
ทางปกครองต้องเป็นกรณีที่มีความจำาเป็น ต้องกระทำาการอย่างได้สัดส่วน และพอสมควรแก่เหตุ
แห่งการนั้น
พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับกลุ่มผู้ชุมนุม ต้องเป็น
กรณีที่มีอำานาจหน้าที่ตามกฎหมายและมีเหตุที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ภายใต้หลักความ
ได้สัดส่วน (Principle of Proportionality) หากกระทำาการโดยไม่มีอำานาจตามกฎหมายหรือขัดต่อ
หลักความได้สัดส่วนดังกล่าว ก็อาจต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา และทางวินัย ซึ่งรวมถึง
การละเว้นไม่เข้าแทรกแซงห้ามปรามการชุมนุมด้วย
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองหรือ
การออกคำาสั่งทางปกครอง ต้องเป็นไปตามหลักความได้สัดส่วนกับการจำากัดเสรีภาพในการชุมนุม
สาธารณะ กล่าวคือ
๑) เพื่อให้วัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ และตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะบรรลุผล มิใช่เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของ
กฎหมายฉบับอื่น ตัวอย่างเช่น การออกคำาสั่งห้ามการชุมนุมสาธารณะด้วยเหตุผลเพื่อรักษา
ความสะอาดของที่สาธารณะหรือเพื่อไม่ให้จราจรในย่านธุรกิจติดขัด คำาสั่งเช่นนี้เป็นไปเพื่อบรรลุ
วัตถุประสงค์ของกฎหมายอื่น
๒) เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องใช้มาตรการที่สามารถนำาไปสู่ผลที่ต้องการได้
๓) เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเลือกใช้มาตรการที่จำาเป็นหรือที่มีความรุนแรง
น้อยที่สุด ในกรณีที่จำาเป็นมากขึ้นจึงเลือกใช้มาตรการที่รุนแรงมากขึ้นตามลำาดับ
๔) เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเลือกใช้มาตรการที่เหมาะสมตามข้อเท็จจริงขณะนั้น
ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (The European Court of Human Rights)
ได้กล่าวถึงหลักความได้สัดส่วนไว้ว่า เหตุผลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะอ้างว่าการกระทำาของตนเป็นไปตาม
หลักความได้สัดส่วน คือ “ความเกี่ยวโยงกับความพอเพียงสมเหตุสมผล (Relevant and Sufficient)
และการกระทำานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการประเมินข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างมีเหตุผลและ
ยอมรับได้” การจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะเพียงเพราะความสงสัยของเจ้าหน้าที่หรือการ
สันนิษฐานไว้ก่อนนั้นไม่อาจยอมรับได้ ดังนั้น การจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะโดยกำาหนด
ครอบคลุมทุกกรณี เช่น ระหว่างเวลาที่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น โดยไม่พิจารณาสถานการณ์