Page 74 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 74

72   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  เสถียรภาพของฝ่ายปกครอง กฎหมายลำาดับรองที่จะออกมาใช้บังคับแก่กรณีดังกล่าว จึงควรมี

                  สถานะสูงกว่าประกาศของรัฐมนตรี
                                  ในส่วนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการดูแลการชุมนุม รัฐต้องฝึกอบรมเจ้าหน้าที่

                  ในเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพื่อปฏิบัติกับกลุ่มผู้ชุมนุมตามหลักสากล เป็นไปด้วยความสันติ ไม่เกิดความ
                  รุนแรงจนต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

                                  ๖.๒  เมื่อประกาศพื้นที่ควบคุมแล้ว บัญญัติให้อำานาจเจ้าหน้าที่ค้น จับ ยึด หรือ
                  อายัดทรัพย์สินผู้ชุมนุมสาธารณะได้ โดยถือว่าการกระทำาของผู้ชุมนุมเป็นความผิดซึ่งหน้า

                                        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ และ
                  มาตรา ๔๑ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๙ ได้บัญญัติ

                  รับรองสิทธิและเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนไว้ ซึ่งบุคคลใดๆ  ไม่อาจล่วง
                  ละเมิดได้ และได้บัญญัติยกเว้นการกระทำาที่กระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวก็แต่โดย

                  พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำานาจหน้าที่ในการนั้น โดยได้รับคำาสั่งหรือหมายของศาล กรณีผู้เข้าร่วม
                  การชุมนุมตามความหมายของกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะนี้ ต้องสันนิษฐานเป็นคุณไว้ก่อน

                  ว่าเข้าร่วมการชุมนุมโดยประสงค์ที่จะแสดงออกซึ่งการสนับสนุน เรียกร้อง หรือคัดค้านกฎหมาย
                  นโยบายการกระทำา การดำาเนินการในโครงการหรือกิจกรรม หรือท่าทีอย่างหนึ่งอย่างใด โดยไม่

                  ต้องการที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง  ผู้เข้าร่วมการชุมนุม
                  จึงไม่ควรถูกสั่งให้หยุดและถูกตรวจค้น หรือยึด อายัดทรัพย์สิน นอกเสียจากว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                  มีเหตุผลเพียงพอที่จะสงสัยว่าบุคคลผู้นั้นได้กระทำาความผิดมาแล้ว หรือกำาลังกระทำาความผิด หรือ
                  จะทำาความผิดในระยะเวลาอันใกล้


                                  คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                  การให้อำานาจเจ้าหน้าที่กระทำาการต่อเนื้อตัวร่างกายของผู้ชุมนุม โดยการจับกุม

                  การค้น รวมทั้งกระทำาต่อทรัพย์สินของผู้ชุมนุมโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ซึ่งสิทธิในเรื่อง
                  ดังกล่าวถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่มีความสำาคัญ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                  พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of
                  Human Rights (UDHR)) ข้อ ๙ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง

                  (UN International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)) ข้อ ๙ ได้บัญญัติรับรองไว้
                  หากจะมีการกระทำาใดๆ ที่กระทบสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวต้องเป็นกรณียกเว้น ซึ่งโดยปกติแล้ว

                  ต้องผ่านการวินิจฉัยขององค์กรตุลาการ กล่าวคือ ศาลต้องสั่งอนุญาตให้ออกหมายจับ หมายค้น ฯลฯ
                  เสียก่อน ภายใต้ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่เชื่อว่าผู้กระทำาผิดจะหลบหนี หรือทรัพย์สินสำาหรับใช้

                  ในการกระทำาความผิดจะถูกเคลื่อนย้ายหรือถูกทำาลาย ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่แตกต่างจากบทบัญญัตินี้
                  ที่ให้อำานาจดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่เพียงเพราะถือว่าการชุมนุมนั้นเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                  ประการสำาคัญ ร่างพระราชบัญญัตินี้ได้กำาหนดเหตุบางประการที่จะถือว่า การชุมนุมนั้นเป็นการชุมนุม
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79