Page 73 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 73
71
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
นอกจากนี้ ควรบัญญัติเรื่องการขยายระยะเวลาการชุมนุมไว้ในกฎหมายนี้ด้วย
ทั้งนี้ เพื่อรับรองการชุมนุมสาธารณะในช่วงขยายระยะเวลาว่าเป็นการชุมนุมโดยชอบด้วยกฎหมาย
และเพื่อกำาหนดกรอบการใช้อำานาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการชุมนุม
ประเด็นที่ ๖ อำานาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๒๐ วรรคท้าย มาตรา ๒๗
และมาตรา ๒๘)
๖.๑ กำาหนดให้เจ้าพนักงานอาจใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนได้ตามที่รัฐมนตรี
ประกาศกำาหนด และการดำาเนินการเพื่อให้ผู้ชุมนุมยุติหรือเลิกการชุมนุม
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชน
ไว้เฉพาะหลักการเท่านั้น โดยจะต้องมีการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติขยายความรัฐธรรมนูญ
และอาจกำาหนดกฎหมายลำาดับรองที่ให้อำานาจฝ่ายบริหารไปออกกฎ เช่น กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับ ดังนั้น พระราชบัญญัติควรมีขอบเขตที่ชัดเจนว่าจะให้ฝ่ายบริหารออกกฎเกณฑ์เรื่องอะไร
มีหลักเกณฑ์และวิธีการอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อจำากัดอำานาจดุลพินิจของฝ่ายบริหารไม่ให้กว้างจนเกินไป
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควรเขียนให้ชัดเจนว่า
ทำาได้ในกรณีใดบ้าง เช่น เพื่อป้องกันตนเอง เป็นภัยที่เกิดขึ้นใกล้ตัว และไม่สามารถหลีกเลี่ยงโดยวิธี
อื่นใดที่โดยปราศจากการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เช่นนั้นได้ ในกรณีเช่นนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องได้รับการ
ฝึกอบรมอย่างเพียงพอ เนื้อหาการฝึกอบรมประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ๑) การเรียนรู้ให้เข้าใจสภาพ
ธรรมชาติของการชุมนุมสาธารณะ และฝึกปฏิบัติการหลีกเลี่ยงความรุนแรง และไม่ขยายความขัดแย้ง
ให้สูงขึ้น ๒) การฝึกฝนให้มีทักษะที่นุ่มนวลในการเจรจาต่อรองและการเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาท การเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน และควรนำา “แนวปฏิบัติสำาหรับเจ้าหน้าที่ตำารวจ” (The UN
Code of Conduct of Law Enforcement Officials) ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้จัดทำาไว้ประกอบ
การฝึกอบรมด้วย
คว�มเห็นและข้อเสนอ
ควรกำาหนดกรอบและขั้นตอนการควบคุมฝูงชน ซึ่งรวมถึงการใช้กำาลังเพื่อให้
ผู้ชุมนุมยุติหรือเลิกการชุมนุมไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยคำานึงถึงหลักความได้สัดส่วนและ
พอสมควรแก่เหตุ เพื่อเป็นแนวทางในการกำาหนดรายละเอียดในกฎหมายลำาดับรองต่อไป เช่น
เจ้าหน้าที่ต้องเลือกใช้มาตรการที่รุนแรงน้อยที่สุดและเท่าที่จำาเป็น โดยห้ามมิให้มีการใช้อาวุธปืน
ในการยุติหรือเลิกการชุมนุมโดยเด็ดขาด
นอกจากนี้ การกำาหนดให้ใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนและดำาเนินการเพื่อให้ผู้ชุมนุม
ยุติหรือเลิกการชุมนุมให้เป็นไปตามกฎหมายลำาดับรอง ได้แก่ ประกาศที่ออกโดยรัฐมนตรีนั้น
เห็นว่า การดำาเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องที่กระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยตรง และสุ่มเสี่ยง
ที่จะเกิดความรุนแรงได้โดยง่าย และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การลุงทุน ความเชื่อมั่น ตลอดจน