Page 72 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 72

70  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  ทำาให้ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายได้ และควรกำาหนดระยะเวลาการแจ้งล่วงหน้ากรณีเร่งด่วน

                  ให้สั้นลงกว่าการแจ้งล่วงหน้ากรณีปกติ  กรณีเช่นนี้ ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะก็ไม่ควรมีความผิดและ
                  ได้รับโทษ

                                  ในส่วนของเจ้าหน้าที่ แม้ว่าไม่ได้แจ้งการชุมนุมล่วงหน้า หรือปรากฏเหตุอันไม่
                  สมควรที่จะไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐทราบล่วงหน้าก็ตาม  เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ยังคงมีหน้าที่ต้องให้ความ

                  คุ้มครอง อำานวยความสะดวกในการจัดการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้านั้น  แต่ทั้งนี้ผู้จัดการ

                  ชุมนุมอาจมีความผิดเป็นส่วนตัวและได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติได้  แต่ไม่ทำาให้การชุมนุมที่ไม่ได้
                  แจ้งล่วงหน้านั้นกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐ หรือเป็น
                  สาเหตุที่จะนำาไปสู่การสั่งห้ามการชุมนุมหรือสั่งสลายการชุมนุม


                                  คว�มเห็นและข้อเสนอ

                                  ในเรื่องนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความเห็นสอดคล้องกับบันทึก
                  ความเห็นของคณะปฏิรูปกฎหมายว่า ผู้จัดการชุมนุมหรือผู้นำาการชุมนุมมีหน้าที่แจ้งการชุมนุมให้

                  พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า โดยกำาหนดให้อยู่ระหว่าง ๒๔-๗๒ ชั่วโมง ก่อนเริ่มการชุมนุม  ทั้งนี้
                  ขึ้นกับจำานวนผู้ชุมนุมและสถานที่ชุมนุม เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีระยะเวลาเตรียมการอำานวยความ

                  สะดวก จัดมาตรการรักษาความปลอดภัย จัดเส้นทางการจราจร เป็นต้น
                                  นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังมีความเห็นต่อประเด็นที่

                  กฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่มีอำานาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้มีการชุมนุม กล่าวคือ การที่กฎหมาย
                  กำาหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือโดยเคร่งครัด หากไม่ดำาเนินการตามที่กำาหนด

                  ต้องขอผ่อนผันและได้รับอนุญาตเสียก่อน  หากไม่ได้รับการผ่อนผัน ให้ถือว่าการชุมชนเป็นการ
                  ชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ร่างมาตรา ๑๕)  บทบัญญัตินี้มีความหมายว่า การชุมนุมที่ไม่ได้แจ้ง

                  ล่วงหน้าหรือแจ้งไม่ครบตามระยะเวลา ต้องได้รับอนุญาตจึงจะชุมนุมได้  และหากฝ่าฝืนจะส่งผล
                  ถึงกับให้การชุมนุมนั้นเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  บทบัญญัติเช่นนี้น่าจะขัดต่อมาตรา ๖๓

                  ของรัฐธรรมนูญ  คณะกรรมการฯ เห็นควรเปิดโอกาสหรือมีข้อยกเว้น กรณีผู้ชุมนุมมาชุมนุมโดยที่
                  ไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า เนื่องจากมีความจำาเป็นเร่งด่วน หรือหากโดยสภาพในขณะนั้นไม่อาจแจ้งเป็น

                  หนังสือได้ ให้แจ้งด้วยวาจาไว้ก่อนได้ และให้แจ้งเป็นหนังสือภายหลังในทันทีที่สามารถดำาเนินการได้
                                  ประการสำาคัญ คือ เมื่อบัญญัติให้การชุมนุมก่อนได้รับอนุญาตผ่อนผันเป็นการ

                  ชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว  ร่างพระราชบัญญัตินี้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกการชุมนุมและ
                  กำาหนดให้พื้นที่ชุมนุมเป็นพื้นที่ควบคุมได้  และถือว่าผู้ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมเป็นผู้กระทำาความผิด

                  ซึ่งหน้า  อาจถูกค้น จับ ยึดและอายัดทรัพย์สินได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล  และท้ายที่สุด
                  กฎหมายได้ให้อำานาจนำาไปสู่การสั่งการหรือการดำาเนินการใดๆ เพื่อให้การชุมนุมนั้นต้องเลิกหรือยุติลง

                  บทบัญญัติเช่นนี้เป็นสิ่งยืนยันว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีข้อความที่อาจขัดรัฐธรรมนูญฯ จึงสมควร
                  แก้ไขดังที่ได้เสนอมาข้างต้น
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77