Page 71 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 71

69
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                     ประสงค์ที่ต้องการสนับสนุน เรียกร้องหรือคัดค้านกฎหมาย นโยบาย การกระทำา การดำาเนินการใน

                     โครงการหรือกิจกรรม หรือท่าทีอย่างหนึ่งอย่างใด และช่วยดูแลอำานวยความสะดวกให้แก่ผู้ชุมนุม
                     ได้มากขึ้น  ขณะเดียวกัน หากผู้ชุมนุมสามารถสื่อสารความประสงค์จากพื้นที่ได้เช่นเดียวกับการชุมนุม

                     ในเมือง ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมได้ เช่น การใช้เส้นทางการจราจร

                                     คว�มเห็นและข้อเสนอ

                                     เห็นว่า การกำาหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการจัดการ
                     เกี่ยวกับสถานที่ที่ใช้ในการชุมนุม นั้น  เป็นการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมและเปิดโอกาส

                     ให้กลุ่มประชาชนกลุ่มต่างๆ จัดการชุมนุมได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น  โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                     มีหน้าที่อำานวยความสะดวก ดูแลรักษาความปลอดภัย และจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมให้ประชาชนร่วม

                     ชุมนุมสาธารณะ เช่น สามารถเดินทางมายังสถานที่ดังกล่าวได้โดยสะดวก และควบคุมกรอบของการ
                     ชุมนุมไม่ให้ไปกระทบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเกินสมควรแก่เหตุ โดยเห็นว่าควรกำาหนดให้เป็นหน้าที่ของ

                     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่าเป็นการใช้ดุลพินิจจะจัดสถานที่หรือไม่ก็ได้


                                ประเด็นที่ ๕  การกำาหนดให้ผู้ที่ประสงค์จัดการชุมนุมสาธารณะและการชุมนุมนั้น

                     กระทบต่อความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ ให้มีหนังสือแจ้งการชุมนุมไม่น้อย
                     กว่า ๗๒ ชั่วโมง  การชุมนุมสาธารณะที่ไม่ได้แจ้งภายในระยะเวลาดังกล่าว ต้องขอผ่อนผัน
                     ต่อผู้บัญชาการตำารวจนครบาลหรือผู้ว่าราชการจังหวัด และต้องได้รับอนุญาตให้ผ่อนผัน

                     เสียก่อนจึงจะชุมนุมได้ การชุมนุมโดยยังไม่ได้รับอนุญาตให้ถือว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วย

                     กฎหมาย (มาตรา ๑๐  มาตรา ๑๔  และมาตรา ๑๕)
                                     การแจ้งการชุมนุมล่วงหน้าตามปกติให้ทำาเป็นหนังสือนั้นมีความเหมาะสม

                     แต่กรณีมีความจำาเป็นเร่งด่วน ควรมีบทบัญญัติให้แจ้งโดยวิธีอื่นได้ เช่น ทางโทรสาร หรือจดหมาย
                     อิเล็กทรอนิกส์  แต่อย่างไรก็ตาม การแจ้งการชุมนุมล่วงหน้ามุ่งหมายที่จะให้เจ้าหน้าที่ได้เตรียมตัว

                     ดูแลอำานวยความสะดวก  การไม่แจ้งล่วงหน้าจึงเป็นเพียงทำาให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเตรียมการในการ
                     ดูแลอำานวยความสะดวกได้ตามที่ควรจะเป็นเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้จัดการชุมนุมไม่ได้แจ้งล่วงหน้า

                     จะต้องไม่ส่งผลร้ายจนกระทบต่อสารัตถะแห่งเสรีภาพของผู้ต้องการชุมนุม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ควร
                     เป็นเหตุที่นำาไปสู่การสั่งให้เลิกการชุมนุม การกำาหนดพื้นที่ควบคุม การสลายการชุมนุม รวมทั้งการยึด

                     อายัดทรัพย์สินผู้ชุมนุม ตราบเท่าที่การชุมนุมนั้นยังเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

                                     นอกจากนี้ ในประเทศประชาธิปไตย ความสามารถในการตอบสนองอย่างสงบ
                     และอย่างทันทีทันใดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยการพูด แสดงความคิดเห็น หรือการชุมนุม ถือเป็นสิ่ง

                     ที่คาดหมายได้และควรได้รับความคุ้มครอง  ดังนั้น กฎหมายจึงต้องระบุถึงสถานการณ์เร่งด่วนที่ทำาให้
                     ไม่สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ เป็นข้อยกเว้นการแจ้งล่วงหน้ากรณีปกติ การชุมนุมกรณีเร่งด่วนที่ไม่ได้แจ้ง

                     ล่วงหน้าจึงต้องได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษ  หากผู้จัดการชุมนุมสาธารณะมีเหตุผลอันสมควรที่
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76