Page 70 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 70

68   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  กล่าวมาแล้ว การกำาหนดนิยาม “ศาล” ให้หมายความถึงศาลแพ่งหรือศาลจังหวัด ยังเป็นการขัดต่อ

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๒๓ ที่บัญญัติให้ศาลปกครองมีเขตอำานาจในการพิจารณา
                  วินิจฉัยคดีปกครอง ไม่ใช่ศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดซึ่งเป็นศาลยุติธรรม


                                  คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                  ในเรื่องนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความเห็นว่า อำานาจในการห้าม

                  การชุมนุม การสั่งให้เลิกการชุมนุม หรือการคัดค้านการชุมนุม ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน นั่นคือ
                  มอบให้ฝ่ายบริหาร (ฝ่ายปกครอง) เป็นผู้ตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้าย และรับผิดชอบในการตัดสินใจ

                  ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำาสั่งห้ามหรือให้เลิกการชุมนุมสาธารณะ ผู้จัดการชุมนุม
                  หรือผู้นำาการชุมนุมควรมีสิทธิอุทธรณ์คำาสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อฝ่ายบริหารระดับสูงขึ้นไปเป็น

                  ผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ และเมื่อได้ดำาเนินการตามขั้นตอนวิธีการในฝ่ายปกครองจนครบถ้วนแล้ว
                  ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้จัดการชุมนุมหรือผู้นำาการชุมนุมที่จะนำาคดีไปสู่ศาลปกครองได้ต่อไป


                             ประเด็นที่ ๓  การชุมนุมสาธารณะต้องไม่กีดขวางทางเข้าออกสถานที่สำาคัญ

                  ต่างๆ (มาตรา ๘)  ได้แก่

                                  (๑)  สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท สถานที่พำานัก
                  ของผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์

                                  (๒)  รัฐสภา ทำาเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ

                                  (๓)  ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ

                                  (๔) โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน

                                  (๕) สถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ

                                  คว�มเห็นและข้อเสนอ

                                  ควรบัญญัติให้ครอบคลุมถึงองค์การระหว่างประเทศ เช่น ที่ทำาการขององค์การ
                  สหประชาชาติ ซึ่งควรได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ



                             ประเด็นที่ ๔  กำาหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการ
                  จัดการชุมนุมสาธารณะในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ  โดยให้มีอำานาจดุลพินิจในการจัดให้มีสถานที่

                  สำาหรับการชุมนุมสาธารณะ (มาตรา ๙)
                                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ได้เปิดมิติการ

                  กระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอันที่จะจัดการบริการสาธารณะ โดยมีความเป็น
                  อิสระในการกำาหนดนโยบาย การบริหาร และการจัดบริการสาธารณะในท้องถิ่นของตน

                                  การจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมให้เป็นพื้นที่สำาหรับการชุมนุมสาธารณะ อาจช่วยให้
                  ประขาชนที่ประสงค์จะรวมตัวกันเพื่อแสดงออกให้รัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลกลางทราบเกี่ยวกับความ
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75