Page 69 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 69
67
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ขอชุมนุม (มาตรา ๑๔) การประกาศให้พื้นที่บริเวณที่มีการชุมนุมสาธารณะเป็นพื้นที่ควบคุม (มาตรา
๑๖ วรรคหนึ่ง) คำาสั่งให้ปิดการจราจร (มาตรา ๒๐) เป็นต้น และโดยที่รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๒๓
บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน
ซึ่งแตกต่างจากหลักการพิจารณาคดีของศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีหลักการและฐานคิดว่า คู่กรณี
ทั้งสองฝ่ายที่เป็นเอกชนกับเอกชนมีความเท่าเทียมกัน ดังนั้น เรื่องที่พิพาทกันในทางปกครองระหว่าง
ประชาชนผู้ชุมนุมเช่นนี้ จึงควรได้รับการพิจารณาพิพากษาในศาลปกครอง
ประการสำาคัญ ข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการชุมนุมอาจเกิดขึ้นได้ทั้ง
ข้อพิพาทในทางปกครอง ทางแพ่ง และทางอาญา บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆ จึงไม่ควรบัญญัติให้
เหตุที่เกิดขึ้นทุกลักษณะแห่งคดีต้องอยู่ภายใต้เขตอำานาจของศาลใดศาลหนึ่งโดยเฉพาะ ควรบัญญัติ
ให้ข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลตามลักษณะแห่งคดีนั้นๆ
๒.๒ การบัญญัติให้อำานาจศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำานาจเหนือสถานที่
ที่มีการชุมนุม เป็นผู้ออกคำาสั่งให้เลิกการชุมนุม และจำากัดอำานาจพิจารณาวินิจฉัยว่า หากการชุมนุม
สาธารณะนั้นเป็นการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา ๑๕) หรือผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตาม
มาตรา ๘ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ แล้วแต่กรณี ศาลต้องออกคำาบังคับให้
ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมสาธารณะหรือยุติการกระทำาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้ศาลกำาหนดระยะ
เวลาในคำาบังคับไว้ด้วย (มาตรา ๒๕)
ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยมีการแบ่งแยกการใช้อำานาจ
อธิปไตยออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) อำานาจนิติบัญญัติ คือ อำานาจในการวางระเบียบ กฎเกณฑ์
กฎหมาย เพื่อใช้บังคับภายในประเทศ ๒) อำานาจบริหาร คือ อำานาจในการใช้หรือบังคับการให้เป็น
ไปตามกฎหมาย และ ๓) อำานาจตุลาการ คือ อำานาจในการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดีอันเป็นพื้นฐาน
ของหลักนิติรัฐ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความเห็นว่า หากการชุมนุม
สาธารณะใดเป็นการชุมนุมที่หัวหน้าสถานีตำารวจในฐานะฝ่ายปกครองอาจสั่งห้ามการชุมนุม หรือ
สั่งให้เลิกการชุมนุมนั้นเสียได้ ซึ่งขั้นตอน กระบวนการ และการสั่งห้ามหรือสั่งให้เลิกการชุมนุม
สาธารณะนี้ถือว่าเป็นการดำาเนินการทางปกครอง ตามหลักการแบ่งแยกอำานาจ การดำาเนินการทาง
ปกครอง เป็นอำานาจของฝ่ายปกครองมิใช่ฝ่ายตุลาการ ดังนั้น การที่ร่างกฎหมายฉบับนี้บัญญัติให้
ศาลซึ่งเป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตยทางตุลาการ เป็นผู้พิจารณาออกคำาสั่งห้ามหรือสั่งให้เลิกการชุมนุม
สาธารณะภายหลังจากคำาสั่งของหัวหน้าสถานีตำารวจ โดยร่างพระราชบัญญัติมิได้เปิดโอกาสให้ผู้รับ
คำาสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ในฝ่ายปกครองก่อน แต่ให้ศาลทำาหน้าที่เสมือนผู้พิจารณาอุทธรณ์คำาสั่งหัวหน้า
สถานีตำารวจ จึงเป็นบทบัญญัติที่ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำานาจอธิปไตยระหว่างฝ่ายบริหารและ
ฝ่ายตุลาการ
นอกจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำานาจดังได้