Page 68 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 68

66  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                        ในเรื่องเขตอำานาจของศาลปกครองและศาลยุติธรรมนี้ ได้มีคำาวินิจฉัยชี้ขาด

                  อำานาจหน้าที่ระหว่างศาล โดยคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำานาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ ๑๗/๒๕๔๕
                  กรณีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า เมื่อมีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้วตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง

                  ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว คดีข้อพิพาทในทางปกครองอยู่ในเขต
                  อำานาจของศาลใด ซึ่งในเรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำานาจหน้าที่ระหว่างศาลได้วินิจฉัยว่า

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง ปัญญัติให้ศาล
                  ปกครองมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งมีลักษณะแห่งคดีที่บุคคลจะใช้สิทธิทางศาล

                  แตกต่างจากคดีประเภทอื่น ดังนั้น ข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้อำานาจตามร่างพระราชบัญญัติ
                  การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ในส่วนที่เป็นการดำาเนินการทางปกครองเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

                  กระทำาการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำานาจของศาลปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล
                  ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ เช่น การออกคำาสั่งไม่อนุญาตให้ผ่อนผัน

                  การแจ้งการชุมนุมล่วงหน้า หรือละเลยต่อหน้าที่ เช่น ไม่สั่งให้ปิดการจราจร หรือกระทำาละเมิด เช่น
                  การทำาให้เสียหาย การยึด อายัดทรัพย์สินของผู้ชุมนุม เป็นต้น

                                        อีกทั้งเมื่อพิจารณาการดำาเนินการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐไม่ว่าจะเป็นคำาสั่ง
                  กรณีที่มีการขอผ่อนผันการแจ้งการชุมนุมล่วงหน้า คำาสั่งให้ปิดการจราจรเพื่อเปิดพื้นที่ในการชุมนุม

                  การประกาศให้ผู้ชุมนุมแก้ไขการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  การประกาศให้พื้นที่ที่มีการชุมนุมเป็น
                  พื้นที่ควบคุม ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการใช้อำานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่ง

                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำานาจ
                  พิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือระหว่างหน่วยงานราชการ

                  หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำานาจในทางปกครองตาม
                  กฎหมาย หรืออันเนื่องมาจากการดำาเนินกิจการทางปกครองของหน่วยงานราชการหรือเจ้าหน้าที่

                  ของรัฐ  ในขณะที่ได้บัญญัติอำานาจหน้าที่ของศาลยุติธรรมไว้ในมาตรา ๒๑๘ ให้ศาลยุติธรรมมีอำานาจ
                  พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงที่ไม่ได้อยู่ในอำานาจของศาลอื่น

                                        นอกจากนี้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
                  พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ (๕) ประกอบมาตรา ๗๑ (๑) มาตรา ๗๒ (๕) ยังให้อำานาจศาลปกครองบังคับ

                  ให้บุคคลออกไปจากสถานที่ใด หรือกระทำาหรือละเว้นการะทำาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ อันเป็นอำานาจ
                  ในลักษณะเดียวกันกับอำานาจของศาลยุติธรรมตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้


                                  คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                  กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ กำาหนดกรอบการใช้เสรีภาพในการชุมนุม

                  ของประชาชน และกำาหนดอำานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อคุ้มครองการใช้
                  เสรีภาพในการชุมนุมและเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ซึ่งตามหลักการแล้วเป็นเรื่องในทาง

                  ปกครอง ปรากฏรายละเอียดในร่างพระราชบัญญัติ เช่น เจ้าหน้าที่ผู้รับคำาขอผ่อนผันกำาหนดเวลายื่น
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73