Page 67 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 67
65
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
จัดการชุมนุม ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เป็นธุระในการขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงในการชุมนุม เพราะจะ
ทำาให้มีบุคคลหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง และต้องมีความรับผิดชอบเกินกว่าหน้าที่ของเขาโดยไม่มีเหตุ
อันควร
ประเด็นที่ ๒ การกำาหนดให้ “ศาล” เข้ามามีบทบาทและอำานาจหน้าที่เกี่ยวกับการ
ชุมนุมสาธารณะมีความไม่เหมาะสมบางประการ ดังนี้
๒.๑ การบัญญัติเฉพาะเจาะจงให้ศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำานาจเหนือ
สถานที่ที่มีการชุมนุมมีอำานาจพิจารณาวินิจฉัยคดีตามกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๖ บัญญัติให้ศาลจังหวัดมีอำานาจ
พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง และมาตรา ๑๗ บัญญัติให้ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
และศาลแพ่งธนบุรี มีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวง ในขณะที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาล
ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำานาจพิจารณา
พิพากษาหรือมีคำาสั่งในเรื่องเกี่ยวกับ (๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำาการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำาสั่ง หรือการกระทำาอื่นใด
เนื่องจากกระทำาโดยไม่มีอำานาจหรือนอกเหนืออำานาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่
ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำาคัญที่กำาหนดไว้สำาหรับการกระทำานั้น หรือโดย
ไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่
จำาเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ (๒) คดีพิพาท
เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำาหนด
ให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำาละเมิด
หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำานาจ
ตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำาสั่งทางปกครอง หรือคำาสั่งอย่างอื่นหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่
กฎหมายกำาหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร (๔) คดีที่มีกฎหมายกำาหนด
ให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำาหรือ
ละเว้นการกระทำาอย่างหนึ่งอย่างใด
เขตอำานาจของศาลปกครอง และศาลยุติธรรม (ในส่วนคดีแพ่ง) ได้มี
กฎหมายบัญญัติขอบเขตการใช้อำานาจไว้อย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ หากเป็นคดีแพ่งจะอยู่ในเขตอำานาจ
ของศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัด ฯลฯ แล้วแต่กรณี และหากเป็นคดี
ปกครอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๓ และพระราชบัญญัติ
จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้อยู่ในเขตอำานาจของศาล
ปกครอง ซึ่งหมายความถึง ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในภูมิภาคที่ตั้งอยู่ตามจังหวัดต่างๆ
ของประเทศ