Page 66 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 66
64 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
สาธารณะ จึงควรกำาหนดชื่อของกฎหมายที่แสดงความหมายให้ตรงกับเจตนารมณ์ที่จะมุ่งส่งเสริมและ
คุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะของประชาชน
๔.๓ ขอบเขตเนื้อหาของกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ
เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะนี้จะต้องอนุวัติการตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๓ จึงควรพิจารณาข้อกฎหมาย ข้อมูล และ
ปัญหาเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันประกอบด้วย โดยคำานึงถึงเจตนารมณ์
ของรัฐธรรมนูญที่มุ่งคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนเป็น
ด้านหลัก และมีความสำาคัญมากกว่าการให้อำานาจรัฐในการจำากัดเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นเพียง
ข้อยกเว้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาแล้วมีความเห็นและข้อเสนอแนะตามที่
คณะอนุกรรมการฯ ได้นำาเสนอในประเด็นสำาคัญของร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....
(ฉบับที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี) ดังนี้
ประเด็นที่ ๑ คำานิยาม
๑.๑ “การชุมนุมสาธารณะ” ควรหมายถึง การชุมนุมที่บุคคลใดๆ มารวมตัวกัน
เพื่อแสดงออกให้รัฐหรือรัฐบาลทราบเกี่ยวกับความประสงค์ที่ต้องการสนับสนุน เรียกร้องหรือคัดค้าน
กฎหมาย นโยบาย การกระทำา การดำาเนินการในโครงการหรือกิจกรรม หรือท่าทีอย่างหนึ่งอย่างใด
โดยไม่จำาเป็นต้องเป็นสมาชิก และไม่จำาเป็นต้องมีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งอย่างใด
ของผู้เข้าร่วมการชุมนุมนั้น เพียงแต่มีเจตนำานง มีความประสงค์ หรือมีความเห็นพ้องและมาชุมนุม
ร่วมกัน
๑.๒ กฎหมายที่ตราขึ้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลใช้บังคับ
เป็นการทั่วไป บุคคลไม่อาจอ้างความไม่รู้กฎหมาย มาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิดทางกฎมาย
ดังนั้น กฎหมายที่ตราขึ้นจึงไม่ควรมีความซับซ้อนจนทำาให้ผู้ถูกบังคับใช้ทำาความเข้าใจบทบัญญัติ
กฎหมายได้ยาก จึงควรหลีกเลี่ยงการบัญญัติคำานิยามซ้อนคำานิยาม เพราะการรับรู้ความหมายของ
บทบัญญัติมีความซับซ้อนและเข้าใจยากยิ่งขึ้น เช่น “การชุมนุมสาธารณะ” หมายความว่า การชุมนุม
ของบุคคลในที่สาธารณะ และนำาเอาคำาว่า “ที่สาธารณะ” มากำาหนดนิยามว่า หมายถึง ทางหลวงและ
ทางสาธารณะ และนำาเอาคำาว่า “ทางหลวง” และ “ทางสาธารณะ” มากำาหนดนิยามว่า “ทางหลวง”
หมายถึง ทางหลวงตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง และ “ทางสาธารณะ” หมายถ ึง ทางบกหร ือทางน้ำ า
สำาหรับประชาชนใช้ในการจราจร
๑.๓ “ผู้จัดการชุมนุม” ควรหมายถึง ผู้ริเริ่มจัดให้มีการชุมนุมสาธารณะเท่านั้น
ไม่ควรครอบคลุมถึงผู้เชิญชวนหรือผู้นัดหมายให้ผู้อื่นมาร่วมชุมนุม หรือผู้ขออนุญาตใช้สถานที่ หรือ
ขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียง เพราะร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กำาหนดให้ “ผู้จัดการชุมนุม” มีหน้าที่
และความรับผิดหลายบทหลายมาตรา จึงไม่ควรรวมบุคคลที่เป็นเพียงผู้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ริเริ่ม