Page 65 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 65

63
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                     ซึ่งที่ผ่านมามีกฎหมายจำานวนหลายฉบับที่เจ้าหน้าที่เคยนำามาใช้บังคับกับเหตุการณ์อันเนื่องมาจาก

                     การชุมนุมสาธารณะ ได้แก่ พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติการจราจรทางบก
                     พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ

                     บ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยการใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓
                     พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก

                     พ.ศ. ๒๔๕๗  พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑  ประมวล
                     กฎหมายอาญา ฯลฯ  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า การนำากฎหมายดังกล่าวมาใช้

                     บังคับกับการชุมนุมสาธารณะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     พุทธศักราช ๒๕๕๐ เนื่องจากมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อดำาเนินการเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะโดยเฉพาะ

                     และยังมีบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ อีกด้วย

                                นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า การชุมนุมใน
                     ที่สาธารณะที่ผ่านมา มีทั้งการชุมนุมเพื่อเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การชุมนุม
                     เพื่อคัดค้านการดำาเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ  และการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐเข้าช่วยเหลือใน

                     เรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งถือเป็นสิทธิเสรีภาพในการ

                     แสดงความคิดเห็นของประชาชนที่สำาคัญ  ดังนั้น หากรัฐบาลจะเสนอให้มีการออกกฎหมายเพื่อ
                     รองรับรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว ก็ควรเป็นกฎหมายที่กำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การใช้อำานาจของ
                     เจ้าหน้าที่ในการควบคุมดูแลการชุมนุมในที่สาธารณะ ในกรณีที่จำาเป็นต้องจำากัดเสรีภาพดังกล่าว

                     จะต้องกระทำาเท่าที่จำาเป็น ได้สัดส่วนและพอสมควรแก่เหตุ และจะกระทบกระเทือนสาระสำาคัญ

                     แห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้  รวมถึงเพื่อสร้างดุลยภาพกับเสรีภาพของประชาชนอื่นที่จำาเป็นต้องใช้
                     พื้นที่สาธารณะที่อาจถูกกระทบอันเนื่องมาจากการชุมนุมดังกล่าวด้วย การตราพระราชบัญญัติว่าด้วย
                     การชุมนุมสาธารณะไม่ควรเป็นอุปสรรคปิดกั้นการใช้เสรีภาพดังกล่าว แต่ควรเป็นเครื่องมืออำานวย

                     ความสะดวกและเป็นหลักประกันแก่การแสดงความคิดเห็นของประชาชน

                                อนึ่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ควรเป็นกฎหมายที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้
                     ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการการชุมนุมสาธารณะ เว้นแต่เมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนที่ยากต่อ

                     การบริหารราชการ เช่น ในยามปกติหรือเมื่อประเทศอยู่ในภาวะสงคราม จึงจะนำากฎหมายพิเศษ เช่น
                     พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก แล้วแต่

                     กรณีมาใช้บังคับ แต่ก็ต้องกระทำาภายในระยะเวลาอันจำากัดเท่าที่จำาเป็นแก่สถานการณ์


                           ๔.๒  ชื่อกฎหมาย

                                หลักการและเหตุผลอันสำาคัญในการตรากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ คือ
                     สาระสำาคัญของสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม ที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศ

                     ควรได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว การตรากฎหมายมาใช้บังคับในเรื่องการชุมนุม
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70