Page 64 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 64
62 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักรฯ และประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนและกฎหมายของประเทศต่างๆ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหพันธรัฐเยอรมนี
สาธารณรัฐเกาหลี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึง
แถลงการณ์และบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการชุมนุม
สาธารณะ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้นำาข้อมูลดังกล่าวข้างต้นมาประกอบการพิจารณา
ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....(ฉบับที่เสนอ
โดยคณะรัฐมนตรี) และพบว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้มีหลักการและประเด็นสาระสำาคัญ ทั้งที่เป็นการ
เปิดมิติเชิงสร้างสรรค์ในการจัดการการชุมนุมสาธารณะ เช่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามา
มีส่วนในการจัดสถานที่สำาหรับการชุมนุม และมีกรณีที่บทบัญญัติไม่เป็นไปตามหลักการสากล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำาหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในการใช้อำานาจทางปกครองแทนฝ่ายปกครอง
ซึ่งอาจกระทบต่อสิทธิของผู้ชุมนุมและประชาชนโดยรวม ดังนี้
๔.๑ เหตุผลและความจำาเป็นในการตรากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙
มาตรา ๔๕ และมาตรา ๖๓ ได้รับรองเสรีภาพในอันที่จะชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่ง
สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration of
Human Rights (UDHR)) หรือกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (UN
International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)) การตรากฎหมายว่าด้วยการชุมนุม
สาธารณะ จึงต้องคำานึงถึงการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมเป็นด้านหลัก
นอกจากเสรีภาพในการชุมนุมจะได้รับการรับรองและคุ้มครองแล้ว รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๓ ได้บัญญัติเหตุแห่งการถูกจำากัดเสรีภาพในการ
ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธไว้ว่า เสรีภาพดังกล่าวจะถูกจำากัดได้แต่เฉพาะเพื่อคุ้มครองความ
สะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาประเทศ
อยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
ซึ่งสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (UN International
Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)) ข้อ ๒๑ และความเห็นของผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา ในบทความเรื่อง “เสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะ : หลักทั่วไปและ
ข้อจำากัด” ทั้งนี้ เนื่องจากการชุมนุมในที่สาธารณะย่อมมีการกระทบกระทั่งสิทธิและเสรีภาพของ
บุคคลที่สามในอันที่จะใช้ที่สาธารณะ รวมถึง ความจำาเป็นที่จะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ
ความมั่นคงของบ้านเมืองในภาวะที่ไม่ปกติ การจำากัดเสรีภาพเช่นนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๓ ให้กระทำาได้แต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเท่านั้น