Page 40 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 40

38   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  อาวุธ  การผลักดันให้มีการสลายการชุมนุมอันเป็นการกระทำาทางปกครองที่จำากัดเสรีภาพในการ

                  ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ถึงผู้ฟ้องคดีที่ ๒๔ กับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยชอบ
                  ด้วยรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการกระทำาละเมิดต่อเสรีภาพในการชุมนุมด้วยการใช้อำานาจตามกฎหมาย

                  ทำาให้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ถึงผู้ฟ้องคดีที่ ๒๔ ได้รับความเสียหายโดยไม่อาจอยู่ชุมนุมต่อไปเพื่อรอยื่นหนังสือ
                  เสนอข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่จะมาประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่โรงแรม

                  เจ.บี. หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ ได้  ศาลปกครองสงขลาได้พิพากษาให้
                  ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ถึงผู้ฟ้องคดีที่ ๒๔

                             (๓)  คำาพิพากษาของศาลปกครองกลาง ที่ ๑๖๐๕/๒๕๕๑ วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๑  ๑๗

                                  โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่า  ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำารวจ
                  ในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑  มีประชาชนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำานวนมาก โดยประชาชนที่เข้าร่วม

                  การชุมนุมบริเวณรอบรัฐสภาขัดขวางมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเข้าประชุม
                  รัฐสภาเพื่อรับฟังการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี  ซึ่งศาลปกครองกลางมีความเห็นว่า

                  การชุมนุมหน้ารัฐสภาดังกล่าวมิใช่การชุมนุมโดยสงบอันจะได้รับการคุ้มครองตามมาตรา ๖๓ ของ
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองกลางได้กำาหนด

                  กรอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจในการสลายการชุมนุมนั้น จะต้องกระทำาเท่าที่จำาเป็น
                  โดยคำานึงถึงความเหมาะสม มีลำาดับขั้นตอนตามหลักสากลที่ใช้ในการสลายการชุมนุมของประชาชน

                  เจ้าหน้าที่ตำารวจไม่อาจดำาเนินการตามอำาเภอใจได้

                             (๔)  คำาวินิจฉัยชี้ขาดอำานาจหน้าที่ระหว่างศาล โดยคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด
                  อำานาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๑๗/๒๕๔๕

                                  กรณีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า เมื่อมีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น ตามพระราช-

                  บัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ แล้ว คดีข้อพิพาทในทางปกครอง
                  อยู่ในเขตอำานาจของศาลใด  ซึ่งในเรื่องนี้ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำานาจหน้าที่ระหว่างศาล

                  ได้วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง บัญญัติ
                  ให้ศาลปกครองมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งมีลักษณะแห่งคดีที่บุคคลจะใช้สิทธิทางศาล

                  แตกต่างจากคดีประเภทอื่น  ดังนั้น เมื่อศาลปกครองเปิดทำาการแล้ว ศาลอื่นย่อมไม่มีอำานาจรับ
                  คดีปกครองไว้พิจารณาพิพากษา













                  ๑๗  อ้างแล้ว ๘ หน้า ๗-๘
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45