Page 39 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 39

37
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                     ๑๐) กฎหมายไม่ควรกำาหนดให้ฝ่ายตุลาการหรือศาลเกี่ยวข้องกับการใช้อำานาจ

                     สั่งห้ามและเลิกการชุมนุม
                                     ๑๑) ประชาชนในภาคใต้มีความกังวลเนื่องจากมีโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ

                     กำาลังจะเกิดขึ้นในท้องที่ต่างๆ เช่น โครงการท่าเรือน้ำาลึกในจังหวัดสตูล เป็นต้น  ซึ่งกระทบต่อวิถีชีวิต
                     ของประชาชนท้องถิ่นอย่างรุนแรง  ดังนั้น หากมีกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะแล้ว ประชาชน

                     จะไม่สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประท้วงต่อรัฐบาลหรือเจ้าของโครงการขนาดใหญ่
                     ดังกล่าวได้เลย


                           ๒.๔  คำาพิพากษาของศาล

                                (๑)  คำาวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๑/๒๕๔๙  วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙  ๑๕

                                     ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. .... ที่แก้ไขเพิ่มเติม
                     มาตรา ๔๖/๑ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดชุมนุมกันในเขตทางหลวงในลักษณะที่เป็นการ

                     กีดขวางการจราจร หรืออาจเป็นอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือผู้ใช้ทางหลวง เว้นแต่ได้รับ
                     อนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำานวยการทางหลวง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำานวยการทางหลวง

                     หรือเป็นการเดินแถว ขบวนแห่ หรือชุมนุมกันตามประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือเป็นกิจกรรมเพื่อ
                     ประโยชน์สาธารณะ หรืออยู่ในเขตที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามที่รัฐมนตรีประกาศกำาหนด”

                     และวรรคสอง บัญญัติว่า  “การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
                     กำาหนดในกฎกระทรวง” นั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                     มาตรา ๒๙ และมาตรา ๔๔ เนื่องจากเป็นการจำากัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
                     เกินความจำาเป็นและกระทบกระเทือนสาระสำาคัญแห่งเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจาก

                     อาวุธ  เพราะการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตาม
                     ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  มาตรา ๒๙ และมาตรา ๔๔ บัญญัติไว้


                                (๒)  คำาพิพากษาศาลปกครองสงขลาที่ ๕๑/๒๕๔๙  วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๙  ๑๖
                                     กรณีแกนนำาต้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ยื่นฟ้องสำานักงานตำารวจแห่งชาติ จังหวัด
                     สงขลา และกระทรวงมหาดไทย สาเหตุจากการใช้กำาลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่หน้าโรงแรม เจ. บี.

                     หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำานวนมาก และมี

                     การจับกุมผู้ชุมนุมประมาณห้าสิบคนดำาเนินคดี  เหตุเกิดเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๕ จากภาพ
                     เหตุการณ์และข้อเท็จจริงข้างต้น ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ถึงผู้ฟ้องคดีที่ ๒๔ ได้ร่วมชุมนุมโดยสงบและปราศจาก






                     ๑๕  http://www.constitutionalcourt. or.th/index.php?option=com_docman&task=cat_view&
                         gid=142<emid=94&=length
                     ๑๖  อ้างแล้ว ๘ หน้า ๗
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44