Page 38 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 38

36   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  เวลาเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่า  รัฐ รัฐบาล หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองจะเข้ามาแก้ไขปัญหาเมื่อใด

                  ซึ่งขัดกับบทบัญญัติที่กำาหนดให้ผู้ชุมนุมต้องแจ้งให้ผู้รับแจ้งทราบว่าจะชุมนุมในระยะเวลาเท่าใด
                                  ๒)  การจะอนุญาตให้ชุมนุมหรือชุมนุมต่อไปได้หรือไม่ โดยให้อำานาจฝ่ายตุลาการ

                  ใช้กฎหมายบริหารประเทศแทนฝ่ายบริหารนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำานาจ การสั่ง
                  ห้ามและเลิกการชุมนุมดังกล่าว จึงควรอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองเท่านั้น

                                  ๓)  การที่กำาหนดให้ผู้ชุมนุมต้องแจ้งต่อผู้รับแจ้งล่วงหน้าก่อนการชุมนุมสาธารณะ
                  หรือจะต้องขออนุญาตก่อนนั้น ย่อมขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งได้รับรองเสรีภาพใน

                  การชุมนุมที่สงบและปราศจากอาวุธ
                                  ๔)  บทบัญญัติตามร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... (ฉบับที่

                  เสนอโดยคณะรัฐมนตรี) นี้  บัญญัติเฉพาะเจาะจงให้อำานาจศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำานาจ
                  เหนือสถานที่ที่ชุมนุม เป็นศาลที่มีอำานาจในการพิจารณาวินิจฉัยคดี ซึ่งมีวิธีการพิจารณาบน

                  ข้อสันนิษฐานว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีความเท่าเทียมกัน คือ ระหว่างเอกชนกับเอกชน  ดังนั้น จึงไม่
                  เหมาะสมที่จะให้ศาลดังกล่าวมีอำานาจพิจารณาวินิจฉัยกรณีข้อพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมี

                  อำานาจเหนือกับเอกชน
                                  ๕)  พระราชบัญญัตินี้ไม่สามารถนำามาบังคับใช้ในทางปฏิบัติได้ เนื่องจากการ

                  ชุมนุมแต่ละครั้ง เกิดจากสาเหตุที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วหากประชาชน
                  ไม่เดือดร้อนก็จะไม่มาเรียกร้องหรือชุมนุมประท้วง  ดังนั้น หากหน่วยงานของรัฐได้จัดการแก้ปัญหา

                  ให้แก่ประชาชนอย่างรวดเร็วแล้ว  การชุมนุมก็จะไม่เกิดขึ้นหรือยุติโดยเร็ว และไม่จำาเป็นต้องตรา
                  กฎหมายนี้ใช้บังคับ

                                  ๖)  กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะควรมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความ
                  สงบเรียบร้อยและระเบียบของสังคม และเป็นการอำานวยความสะดวกแก่การชุมนุมสาธารณะ ไม่ใช่

                  ออกมาเพื่อลิดรอนสิทธิของประชาชน  ร่างพระราชบัญญัตินี้กำาหนดหน้าที่ให้กระทำาและควบคุม
                  ผู้ชุมนุมมากกว่าที่จะกำาหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำาเนินการกับการชุมนุมสาธารณะ

                  นอกจากนี้ ถ้ารัฐบาลทุกรัฐบาลสามารถที่จะเอาใจใส่ต่อความรู้สึกของประชาชน และบำาบัดทุกข์
                  บำารุงสุขด้วยการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็ว ก็ไม่จำาเป็นต้องมีกฎหมายว่าด้วย

                  การชุมนุมสาธารณะ
                                  ๗)  ร่างพระราชบัญญัตินี้ขัดต่อวิถีชีวิตคนท้องถิ่นและรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง

                  และไม่สมควรที่จะออกมาบังคับใช้
                                  ๘)  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๓ ได้ให้มี

                  กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะได้  แต่ต้องมีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนส่งเสริมสิทธิเสรีภาพใน
                  การชุมนุม

                                  ๙)  เจ้าหน้าที่ของรัฐควรปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อกลุ่มผู้ชุมนุมใหม่  และต้องมีการ
                  ฝึกทักษะการยุติการชุมนุมโดยไม่ต้องใช้อาวุธ ให้เป็นไปตามหลักสากล
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43