Page 37 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 37

35
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                     ๖)  บทนิย�ม

                                         ในประเด็นนี้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่า บทนิยาม “ผู้จัดการชุมนุม” ยังไม่มีความ
                     ชัดเจนและมีการขยายความมากเกินไป  ส่วนในเรื่องเขตอำานาจศาลนั้น  การที่นิยามความหมายว่าให้

                     หมายถึงศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำานาจเหนือพื้นที่นั้นๆ เห็นว่าโดยหลักการแล้วเรื่องนี้ควรเป็น
                     เขตอำานาจของศาลปกครอง หรือหากต้องการความยึดหยุ่นก็อาจกำาหนดให้เป็นไปตามลักษณะแห่งคดี

                     ว่าอยู่ในเขตอำานาจของศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม

                                (๕)  สรุปเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .....
                     ครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรม บีพี สมิหลา โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จังหวัด

                     สงขลา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนจากภาคประชาชน
                     ท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมสาธารณะ สรุปประเด็นได้ ดังนี้

                                     ประเด็นวิพากษ์ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... (ฉบับที่เสนอโดย
                     คณะรัฐมนตรี)

                                     ๑)  การแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า ๗๒ ชั่วโมง
                                     ๒)  การให้องค์กรตุลาการเป็นผู้สั่งห้ามการชุมนุมแทนฝ่ายปกครอง

                                     ๓)  ศาลที่มีเขตอำานาจ
                                     ๔)  บทกำาหนดโทษจำาคุกแก่ผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุม กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ

                     ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติฯ หมวด ๕
                                     ๕)  หากมีผู้ชุมนุมบางส่วนหรือมีผู้แอบแฝงเข้ามาในที่ชุมนุมได้กระทำาผิดกฎหมายนี้

                     หรือกฎหมายอื่น จะถือว่าผู้ชุมนุมทั้งหมดกระทำาผิดกฎหมายด้วยหรือไม่
                                     ๖)  ประเด็นอื่นๆ ได้แก่

                                         (ก)  การกำาหนดโทษจำาคุก การให้ริบทรัพย์ที่ยึดได้จากการชุมนุมที่ไม่ชอบ
                     ด้วยกฎหมายให้ตกเป็นของแผ่นดิน

                                         (ข)  การไม่จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
                     ในการยกร่างพระราชบัญญัติก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา

                                         (ค)  ไม่มีการนิยามคำาว่า “อาวุธ” จึงต้องใช้นิยามทั่วไปตามประมวลกฎหมาย
                     อาญา ซึ่งอาจทำาให้ธรรมชาติของการชุมนุมของประชาชนในเรื่องนี้มีความผิดและต้องรับโทษตาม

                     ประมวลกฎหมายอาญา  ทำาให้การชุมนุมซึ่งเป็นเสรีภาพของประชาชนอาจถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                     ใช้อำานาจตามกฎหมายไปในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ


                                     หลังจากนั้น  วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนจากภาคประชาชน ได้ร่วมกัน
                     อภิปราย แสดงความเห็นและมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

                                     ๑)  การเลิกการชุมนุมสาธารณะภายในระยะเวลาที่ผู้จัดการชุมนุมได้แจ้งไว้ต่อ
                     ผู้รับแจ้งในมาตรา ๑๙ ไม่สอดคล้องกับหลักธรรมชาติของการชุมนุม เนื่องจากการชุมนุมจะใช้ระยะ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42