Page 36 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 36

34   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  จะเป็นเพียงการแจ้งเพื่อทราบโดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งภายในกำาหนดเวลาจะ

                  ต้องมีการขอผ่อนผันและได้รับอนุญาตเสียก่อนจึงจะจัดการชุมนุมได้  จึงเท่ากับว่าต้องขออนุญาตก่อน
                  การชุมนุมอันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

                                  ๒)  ประเด็นก�รให้องค์กรตุล�ก�รเป็นผู้สั่งห้�มก�รชุมนุมแทนฝ่�ยปกครอง
                                      ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นว่า การที่พระราชบัญญัตินี้กำาหนดให้ศาล

                  เป็นผู้สั่งห้ามการชุมนุมนั้น อาจตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาลได้  และขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำานาจ

                  อธิปไตย โดยนำาเอาศาลซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำานาจตุลาการมาใช้อำานาจทางปกครองหรือทางบริหาร
                  หากต้องการให้การสั่งการเกี่ยวกับการชุมนุมเป็นไปด้วยความรอบคอบ ควรจัดให้มีคณะกรรมการร่วม
                  ประกอบด้วย ตัวแทนจากศาล พนักงานอัยการ ตำารวจ และตัวแทนผู้ชุมนุมเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย

                  ในเรื่องดังกล่าว

                                  ๓)  ประเด็นเขตอำ�น�จศ�ล
                                      ในประเด็นนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีความเห็นเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายแรกซึ่ง

                  เป็นเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ศาลที่ทำาหน้าที่ตรวจสอบการกระทำาของเจ้าหน้าที่รัฐควรเป็นศาลปกครอง
                  เนื่องจากการจัดการเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะเป็นเรื่องในทางปกครอง  ส่วนอีกฝ่ายเห็นว่า ศาล

                  ที่มีเขตอำานาจเหนือพื้นที่ชุมนุมควรเป็นศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำานาจเหนือพื้นที่ชุมนุมนั้น
                  เนื่องจากมีที่ทำาการทั่วทุกจังหวัด

                                  ๔)  ประเด็นบทกำ�หนดโทษจำ�คุกผู้จัดก�รชุมนุมและผู้ชุมนุม กรณีที่ฝ่�ฝืนหรือไม่ปฏิบัติ

                  ต�มบทบัญญัติของกฎหม�ย
                                      ในประเด็นนี้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่า ควรกำาหนดบทบาทหน้าที่และบทลงโทษ

                  สำาหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายไว้ให้ชัดเจน ตลอดจนกำาหนดหน้าที่และขอบเขต
                  แห่งสิทธิในการปฏิบัติของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการชุมนุม เช่น ผู้ชุมนุม ผู้นำาการชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ

                  เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม การชุมนุมที่ถูกห้ามหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขกฎหมาย เป็นเรื่องการขัดคำาสั่งทาง
                  การปกครอง  การลงโทษจึงควรเป็นโทษทางปกครอง (โทษปรับทางปกครอง) ไม่ใช่โทษอาญา (โทษ

                  จำาคุก) เพราะการชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ  ผู้ที่กระทำาความผิดไม่ใช่
                  อาชญากร  จึงเห็นว่าไม่ควรกำาหนดความผิดที่จะต้องรับโทษทางอาญาไว้ในกฎหมายฉบับนี้

                                  ๕)  ประเด็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขก�รชุมนุม

                                      ในประเด็นนี้ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่า การห้ามการชุมนุมในสถานที่ทำาการ
                  ของรัฐ เช่น รัฐสภา ทำาเนียบรัฐบาล หรือหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ เป็นการจำากัดสิทธิมากเกินไป

                  เพราะกระบวนการเรียกร้องย่อมจะต้องมีการกดดันด้วยการชุมนุมในสถานที่เหล่านี้  และควรมี
                  การกำาหนดเขตกันชนสำาหรับกรณีผู้ชุมนุมที่มีความเห็นขัดแย้งหรือตรงข้ามกัน เพื่อไม่ให้เกิดการ

                  เผชิญหน้าหรือยั่วยุอันจะนำาไปสู่การเกิดความรุนแรง
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41