Page 35 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 35
33
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ต่างๆ เช่น บททั่วไป ขอบเขตของกฎหมาย บทนิยามที่เกี่ยวข้อง บทกำาหนดความรับผิดชอบ หน้าที่
และข้อปฏิบัติของผู้จัดการชุมนุมและผู้ร่วมการชุมนุมสาธารณะ บทกำาหนดอำานาจหน้าที่ความ
รับผิดชอบ และข้อปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนการอุทธรณ์ และบทกำาหนดโทษ ทั้งนี้
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเห็นสมควรส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
หรือองค์การพัฒนาเอกชน จัดให้มีเวทีแสดงและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระสำาคัญที่ควรบัญญัติ
ในร่างพระราชบัญญัติเรื่องนี้ เพื่อให้มีการขับเคลื่อนทางสังคมคู่ขนานไปกับการพิจารณาของฝ่าย
นิติบัญญัติ
๒.๓ ความคิดเห็นและข้อมูลจากเวทีสัมมนา/เสวนา
(๑) รายงานสรุปการประชุมโครงการเวทีนโยบายสาธารณะ เรื่อง “การชุมนุม
สาธารณะ : เสรีภาพที่ต้องการกรอบกติกา” เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ณ โรงแรมรามา
การ์เด้นท์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งในที่ประชุมส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ควรนำาร่างพระราชบัญญัติ
การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ฉบับที่สำานักงานตำารวจแห่งชาติได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีกลับไป
พิจารณาใหม่ เนื่องจากบทบัญญัติต่างๆ เป็นการให้อำานาจให้แก่เจ้าหน้าที่ในการจัดการกับการชุมนุม
มากกว่าการคุ้มครองเสรีภาพของผู้ชุมนุม
(๒) สรุปความเห็นจากเวทีเสวนา ร่างกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ
พ.ศ. .... วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม
ส่วนใหญ่ต่างได้นำาเสนอหลักการ ข้อมูล และข้อเสนอแนะในการจำากัดการใช้เสรีภาพในการชุมนุม
ที่เป็นไปในทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสังคม และไม่เห็นด้วยกับการตรากฎหมาย
ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ
(๓) สรุปเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้เข้าร่วม
ประชุมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว มีบางส่วนเห็นว่า กฎหมายว่าด้วยการชุมนุม
สาธารณะยังมีความจำาเป็น แต่จะต้องมีสาระสำาคัญที่ไม่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน
(๔) ประมวลข้อมูลจากแบบรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติการ
ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนน
วิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็นในแบบรับฟังความคิดเห็น
แบบปลายเปิด จำานวน ๘๕ ฉบับ รวม ๗ ประเด็น สรุปสาระสำาคัญได้ ดังนี้
๑) ประเด็นก�รแจ้งล่วงหน้�เป็นหนังสือไม่น้อยกว่� ๗๒ ชั่วโมง
ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยต่อการแจ้งการชุมนุมให้ทราบล่วงหน้า
เนื่องจากเกรงว่ารัฐบาลจะจัดกำาลังเจ้าหน้าที่มาจัดการหรือขัดขวางผู้ที่จะเข้ามาร่วมชุมนุม และถึงแม้