Page 34 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 34
32 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๑๒
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในบทความได้กล่าวถึงหลักการสำาคัญเกี่ยวกับ
เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๖๓ ได้บัญญัติรับรองไว้ สรุปความได้ว่า เสรีภาพของบุคคลในการรวมตัวชุมนุมกันเป็น
สิทธิเสรีภาพเด็ดขาด รัฐไม่อาจแทรกแซงจำากัดเสรีภาพนี้ได้ ถ้าเข้าเงื่อนไขครบ ๔ ประการ คือ การ
ชุมนุมโดยสงบ โดยปราศจากอาวุธ ในสถานที่ส่วนบุคคล และในสภาวการณ์ปกติ ซึ่งไม่มีการประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
(๘) บทความเรื่อง “เสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะ : หลักทั่วไปและ
ข้อจำากัด” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำาคณะนิติศาสตร์
๑๓
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในบทความได้กล่าวถึง หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับเสรีภาพในการ
ชุมนุมในที่สาธารณะและการเดินขบวน และข้อจำากัดเกี่ยวกับเสรีภาพดังกล่าว ในอันที่จะนำาไปใช้
เป็นประโยชน์แก่การแก้ไขปรับปรุงระบบกฎหมายของประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับบทบัญญัติ
ของรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศ ตลอดจนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการยกร่างกฎหมายว่าด้วย
การชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวนของไทยในอนาคตด้วย
(๙) บันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เรื่อง
๑๔
แนวทางในการตรากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ สรุปว่า การชุมนุมสาธารณะใน
ที่สาธารณะถือเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่สำาคัญ แต่เนื่องจาก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะในที่สาธารณะตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อจำากัดอำานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการควบคุม
ดูแลการชุมนุมในที่สาธารณะ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจึงเห็นควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการ
ชุมนุมสาธารณะ เฉพาะกรณีการชุมนุมในที่สาธารณะในภาวะปกติ ในอันที่จะกำาหนดกรอบกติกา
ในการชุมนุมสาธารณะ ทั้งหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ และเงื่อนไขการดำาเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
และข้อจำากัดการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชน รวมถึงการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่จะ
ถูกกระทบอันเนื่องมาจากการชุมนุม ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองไว้
พร้อมกับได้เสนอความเห็นต่อแนวทางในการตรากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะในประเด็น
๑๒ จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ ตามมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.lrc.go.th/library/research/DocLib6/Right%20to%20Assembly.
pdf
๑๓ จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. เสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะ : หลักทั่วไปและข้อจำากัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.enlightened-jurists.com/page_print/127/parent/94
๑๔ อ้างแล้ว ๙