Page 33 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 33

31
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                                         ๑๐
                     คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    ในบทความได้กล่าวถึง หลักการทั่วไปของเสรีภาพ
                     ในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุมหรือการสมาคมของประชาชนเกาหลีใต้  ซึ่งได้รับ
                     การรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งสาธารณรัฐเกาหลี ค.ศ. ๑๙๘๗ มาตรา ๒๑ ว่าด้วยเสรีภาพในการพูด

                     การพิมพ์ การรวมตัวชุมนุม การสมาคม สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง การรักษาความสงบเรียบร้อยและ
                     ศีลธรรมอันดีของประชาชน  สรุปความได้ว่า ประชาชนทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

                     โดยการพูดและการพิมพ์ รวมทั้ง เสรีภาพในการรวมตัวชุมนุมและการสมาคม การกำาหนดให้
                     ขออนุญาตหรือให้นำาข้อความหรือข่าวไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำาไปเผยแพร่ หรือการกำาหนดให้

                     ขออนุญาตรวมตัวชุมนุมและการสมาคมจะกระทำาไม่ได้  ทั้งนี้ การพูดหรือการพิมพ์อันเป็นการล่วง
                     ละเมิดของบุคคลอื่น หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจะกระทำา

                     มิได้เช่นกัน

                                (๖)  บทความเรื่อง “การชุมนุมและการเดินขบวนในระบบกฎหมายเยอรมัน” โดย
                     นางสาววรนารี  สิงโต นักกฎหมายกฤษฎีกาปฏิบัติการ สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ภายใต้

                     โครงการศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะในการชุมนุมสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
                                                                                ๑๑
                     โดยการสนับสนุนของสำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ   โดยได้ศึกษาในประเด็น
                     เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองชาวเยอรมนีที่ได้รับการรับรองตามมาตรา ๘ ของ
                     กฎหมายพื้นฐานแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (Grundgesetz)  ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐธรรมนูญอันเป็น

                     กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ  โดยกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติให้ประชาขนชาวเยอรมนีทุก
                     คนมีสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธโดยไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาตต่อรัฐหรือเจ้าหน้าที่

                     ของรัฐ  นอกจากนี้ ยังได้มีการศึกษารัฐบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมและการเดินขบวนแห่งสหพันธรัฐ
                     (VersG) ซึ่งกำาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการชุมนุมและการเดินขบวน  มาตรการในการรับรองและ

                     คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้เข้าร่วมการชุมนุมและบุคคลที่อาจถูกกระทบจากการชุมนุม หรือ
                     เดินขบวน ข้อห้าม หรือข้อจำากัดการชุมนุมหรือการเดินขบวนตามกฎหมาย ตลอดจนหลักเกณฑ์และ

                     วิธีการเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมและการเยียวยาความเสียหาย

                                (๗)  บทความเรื่อง เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ ตามมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญ

                     แห่งราชอาณาจักรไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำา









                     ๑๐  จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวนของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี.
                         [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://ppvoice.thainhf.org/document/article/article_857.pdf
                     ๑๑  วรนารี สิงโต. การชุมนุมและการเดินขบวนในระบบกฎหมายเยอรมัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://ppvoice.
                         thainhf.org/document/article/article_858.pdf
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38