Page 32 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 32

30  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  ประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐเกหลี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐ

                  ประชาชนจีน เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข การคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุม และกรอบการใช้เสรีภาพ
                  ในการชุมนุมสาธารณะ

                             (๓)  วิทยานิพนธ์ เรื่อง เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ของ

                  นางสาววารุณี  วัฒนประดิษฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
                                                                 ๘
                  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๑   ได้ศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจาก
                  การใช้สิทธิเสรีภาพเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นในรูปแบบของการจัดการชุมนุม และมาตรการ
                  ในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะ ป้องกัน ระงับยับยั้งการชุมนุมสาธารณะที่เกินขอบเขตหรือละเมิด

                  ต่อกฎหมาย  โดยแบ่งประเภทการชุมนุมในประเทศไทยเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ การชุมนุมในขณะที่
                  บ้านเมืองอยู่ในภาวะปกติและภาวะไม่ปกติ เช่น มีการปฏิวัติ รัฐประหาร  โดยได้ศึกษาหลักเกณฑ์

                  และวิธีการใช้เสรีภาพในการชุมนุมในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา  ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ปัญหา
                  การใช้เสรีภาพในการชุมนุมในประเทศไทย ขอบเขตของการจำากัดเสรีภาพในการชุมนุม รูปแบบ ระบบ

                  และลักษณะของกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการชุมนุมในอันที่จะส่งเสริม คุ้มครอง และให้ความสะดวก
                  แก่ประชาชนที่ใช้เสรีภาพนี้  ตลอดจนบุคคลหรือกลุ่มคนที่อาจถูกกระทบสิทธิเสรีภาพจากการใช้

                  เสรีภาพในการชุมนุมด้วยเช่นกัน

                             (๔)  บทความเรื่อง “กฎหมายว่าด้วยชุมนุมในที่สาธารณะของต่างประเทศ” โดย
                                                                                             ๙
                  นายปกรณ์  นิลประพันธ์ กรรมการร่างกฎหมายประจำาสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา   ซึ่งได้
                  แยกศึกษากฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะของต่างประเทศ โดยจำาแนกออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่

                  กลุ่มที่หนึ่ง ประเทศที่ลงนามและให้สัตยาบันกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                  ทางการเมืองแล้ว (เช่นเดียวกับประเทศไทย) ได้แก่ อังกฤษ ออสเตรเลีย (เฉพาะรัฐนิวเซาท์เวลส์ และ

                  รัฐควีนส์แลนด์)  และสหรัฐอเมริกา (เฉพาะรัฐแคลิฟอร์เนีย)  สำาหรับกลุ่มที่สอง ประเทศที่ลงนาม
                  ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองแล้วแต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ได้แก่

                  สาธารณรัฐประชาชนจีน (แผ่นดินใหญ่และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง)

                             (๕)  บทความเรื่อง “กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวนของ
                  ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี”  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทจิรา  เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำา







                  ๘    วารุณี วัฒนประดิษฐ, เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต
                       คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๑
                  ๙    หนังสือคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ที่ ๐๙๐๔.๑/๕๔๙ ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๓ เรื่อง บันทึกความเห็น
                       และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ  เข้าถึงได้จาก http://www.lrc.go.th/library/
                       research/DocLib5/Forms/Ailltems.aspx
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37