Page 31 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 31

29
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                     (ค)  มีการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยที่ชัดเจน โดยให้อำานาจพนักงาน

                     เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการสั่งเลิกและสลายการชุมนุมได้
                                     (ง)  นอกจากนี้ ยังให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำานาจขอกำาลังทหารและอาสาสมัคร

                     เข้าช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ได้ และกำาหนดโทษอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้

                                (๗)  ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวน พ.ศ. ....  ร่างโดย
                     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา เสนอต่อมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ภายใต้การสนับสนุน

                     ของสำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  หลักการสำาคัญในร่างพระราชบัญญัติ
                     กล่าวคือ ต้องไม่นำากฎหมายที่ไม่ได้มีเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ในการชุมนุมมาใช้บังคับกับ

                     การชุมนุมโดยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติการจราจรทางบกฯ พระราชบัญญัติทางหลวงฯ
                     พระราชบัญญัติการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองฯ ฯลฯ

                     โดยกฎหมายฉบับนี้ ควรสร้างดุลยภาพในการใช้สิทธิและเสรีภาพของคนสองกลุ่มที่แตกต่างหรือ
                     ขัดแย้งกัน ได้แก่ เสรีภาพของกลุ่มผู้ชุมนุม และสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วไปในการใช้ที่ทาง

                     สาธารณะ  และเนื่องจากพระราชบัญญัตินี้มอบอำานาจให้รัฐและเจ้าหน้าที่กำาหนดมาตรการ
                     ทางปกครองในการดำาเนินการเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ  ดังนั้น จึงควรมีสถานะเป็นกฎหมาย

                     ปกครองไม่ใช่กฎหมายอาญา


                           ๒.๒  เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง

                                (๑)  รายงานโครงการศึกษาแนวทางการสร้างสุขภาวะในการชุมนุมสาธารณะ

                     ภายใต้ชุดโครงการมีส่วนร่วมในการกำาหนดนโยบายสาธารณะด้านสิทธิที่เชื่อมโยงกับสุขภาวะ มูลนิธิ
                                                                                ๖
                     สาธารณสุขแห่งชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทจิรา  เอี่ยมมยุรา  ซึ่งได้มีการศึกษากฎหมาย
                     ว่าด้วยการชุมนุมของประเทศต่างๆ เช่น สหพันธรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงกฎหมาย

                     ภายในประเทศ และคำาพิพากษาที่เกี่ยวข้อง และยกร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะและ

                     การเดินขบวน พ.ศ. .... ด้วย

                                (๒)  วิทยานิพนธ์ เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ ของ
                     นายวินิจ เจริญชัยยง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์
                                                       ๗
                     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๙  ได้ศึกษาถึงกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะของ





                     ๖   จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. โครงการศึกษาแนวทางการสร้างสุขภาวะในการชุมนุมสาธารณะ, เสรีภาพในการชุมนุม
                         โดยสงบ : ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวน พ.ศ. ...., สำานักงานกองทุนสนับสนุน
                         การสร้างเสริมสุขภาพ, ๒๕๕๓.
                     ๗   วินิจ เจริญชัยยง, กฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชา
                         นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36