Page 29 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 29
27
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
(ก) กำาหนดให้บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่การ
ชุมนุมในที่สาธารณะจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้อื่นและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
(ข) กำาหนดให้การชุมนุมในที่สาธารณะในลักษณะดังต่อไปนี้ คือ มีการใช้ช่องทาง
เดินรถหรือผิวจราจร มีการตั้งเวทีปราศรัยกีดขวางการจราจรหรือการสัญจรของประชาชน มีการใช้
เครื่องขยายเสียง หรือภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว มีการใช้ยานพาหนะ หรือเคลื่อนย้ายสถานที่ชุมนุม
จะกระทำาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาคำาขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะ
(ค) กำาหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาคำาขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะ
ทุกจังหวัด มีอำานาจหน้าที่พิจารณาคำาขออนุญาตชุมนุมที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
(ง) ให้ประธานกรรมการพิจารณาคำาขอมีอำานาจสั่งยุติการชุมนุมในที่สาธารณะ
ในกรณีไม่มีผู้จัดการชุมนุมดูแลการชุมนุมนั้น หรือการชุมนุมนั้นก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น
หรือสาธารณะ หรือมีเหตุก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือการชุมนุมที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้
เป็นต้น
(จ) กำาหนดให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ใช้อำานาจในการสลายการชุมนุมไม่ต้องรับผิด
ทั้งทางแพ่งและอาญา
(๔) ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมการใช้สิทธิชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. ...
เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ สาระสำาคัญของ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
(ก) การชุมนุมจะเกิดขึ้นได้ต้องมีหนังสือแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า
ไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน
(ข) มีการป้องกันและห้ามมิให้ชุมนุมใกล้สถานที่สำาคัญ เช่น สถานที่ราชการ
พระราชวัง โรงพยาบาล เป็นต้น
(ค) มีการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยที่ชัดเจน โดยให้อำานาจของพนักงาน
มีดุลพินิจสั่งเลิกและสลายการชุมนุมได้ ทั้งนี้ ตามความจำาเป็นและพฤติการณ์
(ง) มีการจำากัดขอบเขตการใช้อำานาจของเจ้าพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่รัฐมนตรีกำาหนด
(จ) นอกจากนี้ยังให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำานาจขอกำาลังทหารและอาสาสมัคร
เข้าช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ได้ และกำาหนดโทษอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้
(๕) ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... เสนอโดยสำานักงานตำารวจ
แห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ และมอบหมายให้
คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เรื่องเสร็จที่
๑๘๓/๒๕๕๓ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะได้พิจารณาใน
รายละเอียดต่อไป สาระสำาคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้