Page 28 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 28

26   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗  พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

                  พ.ศ. ๒๕๕๑ และประมวลกฎหมายอาญา  นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                  และกฎหมายของประเทศต่างๆ เช่น สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลี

                  สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงแถลงการณ์และบทบาทของ
                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการชุมนุมสาธารณะ โดยมีรายละเอียด ดังนี้


                        ๒.๑  ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะที่มีการยกร่างที่ผ่านมา ซึ่งเท่าที่
                             ปรากฏมีการดำาเนินการทั้งในส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานของรัฐ

                             และภาคเอกชน รวม ๗ ฉบับ  ได้แก่

                             (๑)  ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... เสนอโดยคณะทำางานยกร่าง

                  กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะและการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก และ
                  กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

                  เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖  ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำาคัญ
                  กล่าวคือ เป็นกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ เพื่อรับรองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและ

                  ปราศจากอาวุธที่จะต้องไม่กระทำาการใดๆ ขัดต่อกฎหมายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ
                  หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ  โดยร่างพระราชบัญญัตินี้กำาหนดให้ผู้จัดให้มี

                  การชุมนุมต้องแจ้งล่วงหน้าต่อหัวหน้าสถานีตำารวจท้องที่ก่อนการชุมนุมไม่น้อยกว่า ๔๘ ชั่วโมง และ
                  จำากัดเวลาในการชุมนุมในที่สาธารณะ ประกอบกับให้หัวหน้าสถานีตำารวจประจำาท้องที่มีอำานาจสั่งให้

                  เลิกการชุมนุมหากปรากฏพฤติการณ์ตามที่กฎหมายกำาหนด และให้การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
                  เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการตามที่กฎหมายกำาหนด

                             (๒)  ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. .... เสนอโดย พลตำารวจเอก

                  อิสระพันธ์  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐

                  ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำาคัญ กล่าวคือ  เป็นกฎหมายที่ยกร่างขึ้นเพื่อรับรองเสรีภาพใน
                  การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธที่ไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศและสิทธิของ
                  ผู้อื่น โดยกำาหนดให้การชุมนุมในที่สาธารณะบางลักษณะต้องมีการยื่นขออนุญาตต่อคณะกรรมการ

                  พิจารณาคำาขอ และกำาหนดให้ผู้จัดให้มีการชุมนุม หรือประธานกรรมการพิจารณาคำาขอต้อง

                  สั่งให้ยุติการชุมนุม  หากการชุมนุมนั้นก่อให้เกิดความไม่สงบ ก่อความเดือดร้อนหรือไม่เป็นไป
                  ตามกฎหมาย พร้อมทั้งกำาหนดให้ประธานกรรมการพิจารณาคำาขอมีอำานาจสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าสลาย
                  การชุมนุมได้


                             (๓)  ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. ....  เสนอโดย
                  นายจุมพฏ  บุญใหญ่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชนและคณะ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน

                  พ.ศ. ๒๕๕๑  สาระสำาคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33