Page 25 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 25
23
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
รายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการ
ปรับปรุงกฎหมาย ที่ ๒๑๐/๒๕๕๔ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔
ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม กสม. ในคราวประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๔
วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔
๑. ความเป็นมา
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยการชุมนุม
สาธารณะ(หรือการประท้วง) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศ
ที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ถือเป็นวิธีการสำาคัญ
อย่างหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาล
เป็นเสรีภาพที่พัฒนาต่อยอดมาจากเสรีภาพในการแสดง
ความคิดเห็นโดยบุคคลแต่ละคน (individual) มาเป็นการแสดง
ความคิดเห็นแบบกลุ่ม (collective) ๑
การชุมนุมโดยสงบและสันติเป็นเสรีภาพที่ได้รับ
การรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของ
สหประชาชาติ(Universal Declaration of Human
๒
Rights (UDHR)) รวมถึงกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมือง(UN International Covenant
๑ จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. เสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะ : หลักการ
ทั่วไปและข้อจำากัด.[ออนไลน์] เข้าถึงได้ จาก : http : //www.
enlightened-jurists.com/directory/94/เสรีภาพในการชุมนุมในที่
สาธารณะ.html
๒ กรมองค์การระหว่างประเทศ, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน,
๒๕๕๑.หน้า ๒๖
ข้อ ๒๑ (๑) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการชุมนุมและการ
สมาคมโดยสันติ
(๒) บุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัดสมาคมหนึ่งได้